การขูดรีดของบรรษัทข้ามชาติ “ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ต่อแรงงานเหมาช่วงในประเทศไทย: การแสวงหากำไรสูงสุดคืออาชญากรรม


    Fri, 2009-07-17 13:58
    พัชณีย์ คำหนัก

    โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

    รายงานชิ้นนี้พยายามจะเปิดเผยกระบวนการขูดรีดแรงงานของระบบทุนนิยม ซึ่งบรรษัทข้ามชาติ “บริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ที่ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนี เพื่อตอบคำถามว่ามีการเติบโตและขยายกิจการมาอย่างไร รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตในช่วงที่เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่ง ชัดเจนแล้วว่า บรรษัทข้ามชาตินี้ได้สร้างโซ่การผลิตเหมาช่วงนับจากการตั้งโรงงานสาขาย่อย หรือบริษัทลูกลงไปถึงการจ้างผู้ประกอบการเหมาช่วงการผลิตในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ พม่า เพื่อลดต้นทุนด้วยการจ้างแรงงานราคาถูก ปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยนายจ้างเหมาช่วงเพื่อสร้างกำไรสูงสุด นั่นเอง

    ด้วยเหตุนี้รายงานชิ้นนี้จึงต้องนำเสนอกระบวนการผลิตและสภาพการจ้างงาน ดูการทำงานของแรงงานหญิง ชีวิตแรงงานภายใต้ค่าแรงขั้นต่ำ การปฏิบัติของนายจ้างต่อแรงงานและการตอบโต้ของแรงงานเมื่อถูกเลิกจ้างอย่าง ไม่เป็นธรรม โดยเริ่มจากข้อพิพาทระหว่างแรงงานไทรอัมพ์กับนายจ้าง และระหว่างแรงงานเวิลด์เวลล์กับนายจ้างบริษัทแม่ (เวิลด์คัพ) ซึ่งเป็นคนงานเหมาช่วงจากบริษัทบอดี้แฟชั่น ประเทศไทย (บริษัทลูกของบรรษัทข้ามชาติไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล) นั่นคือการเลิกจ้างและต่อสู้ของแรงงานของทั้งสองแห่ง

    การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

    สรุปการเลิกจ้างของบริษัทไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

    บริษัท บอดี้แฟชั่น ประเทศไทย ในเขตอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ สาขาย่อยของไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานใหญ่ที่ประเทศเยอรมนี และสวิสเซอร์แลนด์ ทำการผลิตชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไทร อัมพ์”และบริหารงานโดย นายเคนเนท หลุยส์ มาแชล หลังจากที่จ้างพนักงานจำนวนถึง4,200 คน มาเป็นเวลานาน บริษัทได้ประกาศเลิกจ้างคนงานจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งอย่างกะทันหันโดยไม่มีการ บอกล่วงหน้า ซึ่งการเลิกจ้างแบบนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วที่บริษัทลูก 2 แห่งในประเทศฟิลิปปินส์จำนวน 1,660 คนและเป็นผลในวันที่ 9 ก.ค. 52
    เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิ.ย. 52 ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ นายประยูร วงษ์เล็กแจ้งกับพนักงานว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 27-28 มิ.ย. เป็นวันหยุดพิเศษ พนักงานไม่ต้องมาทำงานเนื่องจากปริมาณงานลดลง แต่จะยังได้รับค่าแรงปกติ และจะต้องกลับเข้ามาทำงานในวันที่ 29 มิ.ย.

    ในตอนเช้าของวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย. ผู้บริหารไทรอัมพ์ได้จัดประชุมใหญ่ของบริษัทโดยให้คนงานทั้งหมด 4,200 คน ไปประชุมที่ไบเทค บางนา ตัวแทนบริษัทประกาศในที่ประชุมว่า ข่าวลือถึงเรื่องการเลิกจ้างคนงานจำนวนมากนั้นเป็นความจริง นั่นคือ คนงานจำนวน 1,930 คนจะถูกปลดออก ซึ่งเท่ากับ 37% ของกำลังแรงงานที่โรงงานบางพลีและเป็นผลในวันที่ 28 สิงหาคมนี้

    ในช่วงก่อนหน้านี้ ผู้บริหารได้ออกประกาศของเดือนมีนาคมไปแล้วว่า ยอดขายของบริษัทไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วงต้นปี 2552 รวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าก็ลดลงด้วยอันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการ เงินโลก แม้จะได้มีการใช้มาตรการระยะสั้นคือ รักษาสภาพค่าใช้จ่ายของบริษัทให้เท่ากับปี 2551 แต่ผู้บริหารอ้างว่า ถึงคราวจำเป็นที่จะต้องตัดฐานค่าใช้จ่ายอย่างจริงจังเพื่อปกป้องอนาคตของ บริษัท ดังนั้นจึงมีแผนปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายของหน่วยต่างๆ เพื่อให้บริษัทดำเนินกิจการต่อไปได้ สำหรับบริษัทบอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) การปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายมีดังนี้

    - การตลาด สายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำกำไรและไม่สามารถปรับปรุงให้มีกำไรได้

    - ลูกค้าขายส่งและลูกค้ารายย่อย

    - ต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย

    ผู้บริหารอ้างว่าในวิกฤตเช่นนี้ บริษัทนับว่าโชคดีที่สถานะการเงินยังมั่นคง อย่าง ไรก็ตามเพื่อรักษาความมั่น คงของบริษัทจำเป็นต้องปรับโครงสร้างตามข้างบนเพื่อปรับปรุงจุดอ่อน สร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพของสินค้า ได้ แต่ในหน่วยการขายและการตลาดของบ.บอดี้แฟชั่น ที่โรงงานเทพารักษ์ สมุทรปราการและโรงงานที่นครสวรรค์ ซึ่งจ้างงานรวมทั้งสิ้น 2,000 คนจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดและยังคงดำเนินกิจการต่อไปตามปกติ

    บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงานบวกกับเงินเดือนอีกหนึ่งเดือน และจะเข้าร่วมโครงการจัดหางานให้แก่ผู้ตกงานของกระทรวงแรงงาน ซึ่งตอนนี้มีบริษัทชั้นนำต่างๆ เข้าร่วมโครงการแล้ว และจัดหาตำแหน่งว่างจำนวน 3,600 ตำแหน่ง

    การกระทำของผู้บริหารดังกล่าวไม่เป็นที่ ยอมรับของพนักงานไทรอัมพ์และสหภาพแรงงาน ต่อไปเป็นการตอบโต้เหตุผลของบริษัท โดยสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ

    การตอบโต้ของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)


    จากข่าวคุณวันเพ็ญ วงษ์สมบัติ ประธานสหภาพแรงงานกล่าวว่า หลังจากที่ผู้บริหารแจ้งเหตุผลถึงการเลิกจ้างพนักงาน ก็ได้แจกซองขาวให้ทุกคนซึ่งแจ้งการเลิกจ้างหรือไม่ก็ตำแหน่งงานใหม่ของ พนักงานพร้อมบัตรพนักงานใหม่ โดยระหว่างนั้นไม่ได้เปิดโอกาสให้พนักงานและ สหภาพแรงงานแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามแต่อย่างใด

    คนงานที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตาม กฎหมาย คนที่ถูกเลิกจ้างเป็นพนักงานผลิตชุดว่ายน้ำทั้งหมด เนื่องจากบริษัทจะยกเลิกสายการผลิตชุดว่ายน้ำในประเทศไทยให้สอดรับกับแผนการ ปรับโครงสร้างค่าใช้จ่าย แต่บริษัท ไม่ได้อธิบายว่าทำไมต้องเลิกจ้างพนักงาน ที่ผลิตเสื้อชั้นในบางส่วน ประธานสหภาพตั้งข้อสังเกตว่าพนักงานผลิตเสื้อ ชั้นในที่ถูกเลิกจ้างนั้นเป็นสมาชิกสหภาพทั้งหมด ยกเว้นเธอและกรรมการอีก 2 คน
    นอก จากนี้ยังสงสัยว่า การเลิกจ้างเป็นการล้มสหภาพแรงงานที่ดำเนินงานมาตั้งแต่อดีต ประธานสหภาพแรงงานไม่ได้รับคำตอบจากผู้บริหารเลย แม้ว่าจะสอบถามไปหลายครั้งแล้ว ซึ่งก็ตอบเพียงว่าไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้า แต่เมื่อขอให้เปิดเผยข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้บริหาร ก็ถูกปฏิเสธ ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ผู้บริหารระงับการเลิกจ้างจนกว่าจะเปิดเผยเอกสาร เกี่ยวกับสถานะการเงิน ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจให้สหภาพแรงงาน แต่ทางผู้บริหารยืนยันว่า นโยบายการปรับลดค่าใช้จ่ายเป็นคำสั่งของสำนักงานใหญ่ในยุโรป ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

    นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่คนงานที่มีอายุงาน 20-30 ปีจำนวนเพียง 100,000 กว่าบาท ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดด้วยซ้ำ แต่คนงานที่ทำงานมา 3-4 ปีจะได้รับค่าชดเชย 180,000-200,000 บาท ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าใช้เกณฑ์อะไรในการคำนวณค่าชดเชย อีกทั้งยังไม่ได้แจ้งแก่พนักงานที่ถูกปลดว่าจะจ่ายค่าชดเชยให้เมื่อไรและที่ ไหน ซึ่งทำให้คนงานรู้สึกกังวลยิ่งขึ้น

    คุณจิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ กล่าวว่าคนงานที่ยังคงอยู่ถูกสั่งไม่ให้มาทำงานตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.ถึง 26 ส.ค. 52 แต่จะได้รับค่าจ้างตามปกติในช่วงดังกล่าว ในวันที่ 26 ส.ค. จะมีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย และเพิ่มอีก 1 เดือน รวมถึงสิทธิลาพักร้อนด้วย สหภาพ แรงงานได้ยื่นจดหมายอย่างเป็นทางการขอให้มี การเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลกำไรและต้นทุนการผลิต ในฐานะที่พนักงานมีสิทธิที่จะขอได้ตามจรรยาบรรณทางการค้าของ OECD

    คุณจิตรา คชเดช เชื่อว่าบริษัทไม่ได้ขาดทุนตามที่อ้างไว้เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. แต่การเลิกจ้างแท้จริงแล้วเป็นการล้มสหภาพแรงงานและปลดคนงานที่มีอายุงานสูง และค่าจ้างสูง

    คนงานปฏิเสธการเลิกจ้างและรับค่าชดเชย และกำลังพยายามที่จะเจรจาต่อรองกับผู้บริหารโดยเรียกร้องที่จะขอกลับเข้าไป ทำงานตามเดิมและให้มีการสมัครใจลาออก แต่บริษัทปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้ จึง ต้องทำการกดดันบริษัท เช่น ประท้วงคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่อนุมัติเงินทุนให้บริษัทไปขยายกิจการ ที่โรงงานสาขานครสวรรค์เป็นเงิน 75.5 ล้านบาท

    สรุปการเลิกจ้างคนงานเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์

    สำหรับกรณีนี้แตกต่างจากคนงานไทรอัมพ์เพราะสภาพการณ์เลวร้ายกว่าคือ ไม่มีสหภาพแรงงาน สภาพการจ้างงานแย่กว่า ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ได้รับค่าชดเชย นายจ้างค้างจ่ายเงินเดือนพนักงานรายเดือนและปิดกิจการ
    พนักงาน บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาผลิตสินค้าให้ยี่ห้อดังเช่น ดิสนีย์ ไทรอัมพ์ จากบริษัทตัวแทนเช่น วี.เอฟ. บอดีแฟชั่น จำนวน 41 คนถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเนื่องจากนายจ้างไม่บอกล่วงหน้า นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน์ เจ้าของบริษัทได้ปิด กิจการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 โดยอ้างว่าขาดทุน ไม่มีออเดอร์ (order) เข้ามา พนักงานรายเดือนและรายวันไม่ได้รับเงินค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเวลา 2 เดือนคือ เดือนมีนาคมและเมษายน อีกทั้งค่าชดเชยตามกฎหมายด้วย

    หลังจากที่ต่อสู้มาได้ 3 สัปดาห์ นายจ้างยอมจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่พนักงานรายวันเท่านั้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 จากจำนวนทั้งหมดที่ต้องจ่ายแก่ทุกคนประมาณ 2,400,000 บาท ทำให้ต้องมีการกดดันต่อไป โดยชุมนุมอยู่หน้าโรงงานทุกวัน นายจ้างพยายามหลายครั้งที่จะขนย้ายเครื่องจักรเย็บผ้าและทรัพย์สินมีค่า อื่นๆ จากอาคารบริษัท ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่านายจ้างพยายามจะปกปิดทรัพย์สินที่เหลือของบริษัทแม้ ว่าจะประกาศไปแล้วว่าล้มละลาย ทั้งยังโกงค่าชดเชยที่ต้องจ่ายตามก.ม. ในช่วงที่คนงานเวิลด์เวลล์ตั้งเต็นท์ หน้าโรงงาน ก็ได้สมัครเข้าโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลด้วย

    ขณะนี้ คนงานมีข้อเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนค้างจ่ายแก่พนักงานรายเดือนจำนวน 8 คน รวมถึงค่าชดเชยตามก.ม.ของคนงาน 41 คน และค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นาย จ้างยังคงลอยนวล ไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่าจะได้มีการร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แรงงานจังหวัดสมุทรสาครไปแล้ว

    นอกจากนี้คนงานต้องการให้รัฐช่วยเหลือโดยจ่ายค่าชดเชยให้ 60 วัน จากกองทุนสงเคราะห์คนงาน เรียกร้องความยุติธรรมจากนายจ้างซึ่งคนงานได้ทำงานให้เป็นเวลาหลายปี ทำงานล่วงเวลาบ่อยครั้งเพื่อให้ได้รับรายได้มากขึ้นและข้อเรียกร้องของตัว เอง แม้ว่าจะได้รับเงินเบี้ยขยันเพียงเล็กน้อย ค่าฝีมือและรางวัลการผลิตเพิ่มขึ้น แต่คนงานทั้งหมดทำงานหนักกินค่าจ้างขั้นต่ำ ที่นายจ้างไม่เคยขึ้นให้เลยในขณะที่ตั้งเป้าการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ

    เป็นเวลาถึงสองเดือนที่อดีตคนงานเวิลด์เวลล์ได้ต่อสู้เรียกร้อง แม้จะยังไม่ได้รับอะไรจากนายจ้าง นอกเสียจากค่าชดเชย 60 วันจากกองทุนของกระทรวงแรงงานไม่นานมานี้ และยังคงปักหลักต่อสู้หน้าโรงงาน

    ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนีเกี่ยวข้องกับบริษัทบอดี แฟชั่นประเทศไทย ซึ่งเป็น สาขาย่อยและบอดีแฟชั่นเกี่ยวพันกับเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ในฐานะที่เป็นโรง งานเหมาช่วงผลิตอีกต่อหนึ่ง รวมไปถึงคนงานชาวพม่าที่อ.แม่สอด จ.ตาก ภาคเหนือของประเทศก็สัมพันธ์กับเวิลด์เวลล์ในฐานะที่รับงานเหมาช่วงมาอีกทอด ซึ่งกินค่าแรงต่ำที่สุดและผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไทรอัมพ์” ด้วย

    กระบวนการผลิตและสภาพการจ้าง

    เริ่มจากบ.บอดี้แฟชั่น (BFT) ซึ่งเป็นโรงงานของไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลและเอเย่นของบ.เวิลด์เวลล์ ตามที่เราทราบมาว่าไทรอัมพ์ต้องการแสวงหากำไรสูงสูดด้วยการผลิตสินค้าของตัว เองในประเทศที่กำลังพัฒนาเช่น ไทย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีนโยบายค่าแรงราคาถูกและสนับสนุนการลงทุนของชาว ต่างประเทศ
    ป้าช่อทิพย์คนงานที่ถูกเลิกจ้างทำงานมานานถึง 25 ปีเล่าว่า BFT ในช่วงเริ่มต้นนั้นตั้งอยู่ที่ถนนสีลม กรุงเทพฯ คุณป้าทำงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ตอนที่ยังอยู่สีลม แต่ขณะนี้อายุ 51 ปีแล้ว

    สมัยนั้นมีคนงานประมาณ 700-800 คนผลิตกางเกงใน เสื้อชั้นใน ชุดนอนไทรอัมพ์ ส่วนของคุณป้าผลิตเสื้อชั้นใน หลังจากทำงานมา 5 ปี ก็มีการตั้งแผนกผลิตชุดว่ายน้ำใหม่ รับคนงานเพิ่มอีก 300-400 คน และอีก 2 ปี ถัดมาบริษัทย้ายมาอยู่แถวจังหวัดสมุทรปราการ เช่าโกดังแห่งหนึ่ง และสุดท้ายย้ายมาอำเภอบางพลีตรงนี้ หน่วยการผลิตทุกอย่างถูกย้ายมาที่นี่ทั้งหมด เนื่องจากบริษัทเติบโตมากขึ้นมีคนงานมากขึ้น และสาสมารถขยายกิจการตั้งโรงงานใหม่ที่จังหวัดนครสวรรค์มาได้ 5 ปีแล้ว ซึ่งตอนนี้จ้างคนงานประมาณ 1,000 คนด้วยค่าแรงขั้นต่ำ
    โรงงานที่บางพลีมีขนาดใหญ่พอควรเพราะมีจำนวนคนงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลิตกางเกงใน เสื้อใน ชุดว่ายน้ำ ดังนี้

    1. ชั้น 3 ของอาคาร เป็นแผนกเสื้อชั้นใน คุณวราภรณ์ คนงานเย็บเสื้อชั้นใน ทำงานมาได้ 2 ปีครึ่งอธิบายว่า เธออยู่ในไลน์การผลิตที่ 5 จากทั้งหมด 30 ไลน์ คือไลน์ 1-30 แต่ละไลน์มีคนงานจำนวน 47 คน รวมหัวหน้าระดับต่างๆ เช่น ซุเปอร์ไวเซอร์ ซีเนียร์ คอนแวร์ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 กว่าคน รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,800 คน

    2. ชั้นที่ 2 ของอาคารเป็นแผนกผลิตชุดว่ายน้ำ กางเกงในและเสื้อชั้นใน คือ ไลน์ที่ 31-43 เป็นแผนกชุดว่ายน้ำ และจากไลน์ที่ 44-57 เป็นแผนกกางเกงในและเสื้อชั้นใน มีคนงานประมาณ 1,600 คน

    3. ชั้นที่ 1 เป็นสโตร์ แผนกตัด วัตถุดิบ เป็นต้น
    และยังมีพนักงานอ๊อฟฟิสอีกประมาณ 100 กว่าคน

    คุณวราภรณ์อายุ 31 ปีและกำลังตั้งครรภ์ 3 เดือน ถูกเลิกจ้างร่วมกับเพื่อนร่วมงานในไลน์ตัวเองอีก 30 คน คงเหลือเพียง 17 คน เธอ ได้วางแผนชีวิตของลูกไว้แล้วตามรายได้ที่เธอได้รับปัจจุบัน แต่แผนของเธอก็ต้องมลายไปอย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อน ตอนนี้จึงต้องอาศัยรายได้ของสามีซึ่งได้ค่าจ้างต่ำกว่าเธอ

    เธอได้อธิบายว่าถึงวิธีการทำงานของเธอ ว่า ต้องใช้เครื่องจักรเย็บผ้าไฟฟ้าเพื่อใช้เย็บเสื้อชั้นใน ยิ่งเสื้อชั้นในมีหลากหลายสไตล์ก็ยิ่งเย็บยาก ใช้ทักษะและเวลามากขึ้นกว่าจะเสร็จในขั้นตอนเดียว เพราะ การเย็บเสื้อชั้นใน ต้องใช้ขั้นตอนถึง 40-50 ขั้นตอน หรือส่วนต่างๆ ของเสื้อ เช่น ทรง โค้ง คอ ยางยืด รักแร้ เป็นต้น พนักงานแต่ละคนจะเย็บเพียงขั้นตอน/ส่วนๆ หนึ่งของเสื้อชั้นใน

    หัวหน้าซุปของเธอจะกำหนดเป้าการผลิตให้พนักงานทุกคนต้องทำให้ลุล่วง เช่น 800 ชิ้นต่อวัน หรืออย่างมากที่สุดคือ 1,200 ชิ้น เธอซึ่งกำลังตั้งครรภ์ ถูกกำหนดให้ทำงาน 480 นาทีหรือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าเธอสามารถเย็บเสื้อชั้นในเป็นจำนวนมากภายในเวลาที่กำหนด อาจจะได้รับเงินเพิ่มจากค่าแรงรายวัน คือ 333 บาท ดังนั้นเธอต้องคำนวณว่าภายในเวลา 480 นาทีเธอจะเย็บได้มากที่สุดกี่ชิ้น หรือกี่กล่อง เราพบว่าเธอสามารถเย็บ 40 ชิ้นภายใน 30 นาที ดังนั้นเธอจะสามารถเย็บได้มากที่สุด 600 ชิ้น หรือเท่ากับ 15 กล่อง ต่อวัน ซึ่งยังต้องขึ้นอยู่กับความยากง่ายของสไตล์ของเสื้อชั้นในเพราะเป็นงาน แฟชั่น ถ้าผลิตเกินที่กำหนดในส่วนของเธอ จะได้รับค่าแรงเพิ่ม วิธีการทำงานแบบนี้ต้องแข่งขันกับตัวเองมาก

    ในความเป็นจริงค่าแรงของเธอ 333 บาท หรือประมาณ 10,000 บาท /เดือน นายจ้างได้ขึ้นค่าแรงเป็น 355 บาทเมื่อไม่กี่วันมานี้ วีคหนึ่งเธอจะได้โดยเฉลี่ย 5,000 บาท แต่ถ้าเธอสามารถเร่งการผลิตได้ 15 กล่องต่อวัน เธอจะได้ค่าแรงเหมาช่วงเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทต่อวีค เธอบอกอีกว่า คนงานบางคนสามารถเย็บเสื้อชั้นในถึง 16 กล่องหรือเท่ากับ 640 ชิ้น ซึ่งจะต้องทำงานอย่างเร่งด่วนและเข้มข้นเพื่อให้ได้ค่าแรงเกิน 355 บาท เราเรียกว่าการทำงานเหมาช่วงเพิ่มจากค่าแรงรายวันที่ได้รับอยู่แล้ว

    นอกจากค่าแรงแล้วยังได้รับค่าครองชีพเป็นรายเดือนๆ ละ 900 บาท ค่าเบี้ยขยัน 450 บาทต่อวัน โบนัสประจำปี 1 เดือน ตามเงินเดือนของตัวเอง มีบัตรประกันสังคม และถ้าเธอคลอดบุตรจะได้รับสิทธิตามกฎหมาย คือ ได้รับค่าเลี้ยงบุตรเหมาจ่ายจากประกันสังคม 12,000 บาท

    คนงานทำงานตั้งแต่ 8.00—17.00 น. พักทานอาหาร 1 ช.ม. ถ้ามีงานล่วงเวลา 2.30 ช.ม. จะได้รับค่าล่วงเวลาเพิ่มอีกประมาณ 172 บาท

    นายจ้างดำเนินนโยบายการผลิตในลักษณะเหมาช่วงและงานล่วงเวลาเช่นนี้มาตั้งแต่ก่อ ตั้งแล้วเพื่อเพิ่มกำไรสูงสุด โรงงานสาขานครสวรรค์ คนงานได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่บางพลี คือตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันประมาณวันละ 200 บาท

    ผู้ประกอบการรับเหมาช่วงจากไทรอัมพ์

    BFT กระจายออเดอร์ไปตามโรงงานเหมาช่วง เช่น บ.เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ จำกัด ที่จังหวัดสมุทรสาคร โรงงานที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.อุบลราชธานี โรงงานที่ซอยแบริ่ง ถ.สุขมวิท กรุงเทพฯ พระประแดง จ.สมุทรปราการ ผลิตชุดชั้นในภายในเครื่องหมายการค้า “ไทรอัมพ์” ซึ่งโรงงานรับเหมาช่วง (ยังไม่สามารถระบุชื่อ) จ้างพนักงานตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 203 บาท

    บ. เวิลด์เวลล์เป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากกำลังอยู่ในความดูแลของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย อดีตพนักงานเล่าว่าผลิตเสื้อผ้าให้บ.บอดี้แฟชั่น ตั้งแต่ปลายปี 2550 จนถึงเดือนเมษายน 2552 ก่อนที่บริษัทจะประกาศยกเลิกกิจการวันที่ 1 พ.ค. 52

    บ. เวิลด์เวลล์การ์เม้นไม่ใช่แค่ผู้รับเหมาช่วงของไทรอัมพ์เท่านั้น แต่ยังผลิตให้สินค้ายี่ห้อดังอื่นๆ เช่น ดิสนีย์ สคูล เป็นต้น เปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ.2537 ด้วยทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 25 ล้านบาท ตั้งอยู่เลขที่ 14 หมู่ 7 ถนน เศรษฐกิจ ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร บริหารงานโดย นาย กิจจา จรุงผลพิพัฒน์ เป็น บริษัทลูกของบริษัทเวลิ์ดคัพอินดัสตรี่จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่110/3-4 ถ.เอกชัย เขตบางบอน กรุงเทพฯ และยังมีบริษัทลูกอีก 4 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัทเอเซียเวิลด์บรา จำกัด อยู่ที่ ถนนสุขสวัสดิ์ซอย 11 บางประกอก ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ ฯ 2.บริษัทไทยเวิลค์อิลาสติค จำกัด อยู่ที่110/3-4 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน กรุงเทพฯ 3.บริษัท ทรัพย์อรุณ จำกัด(อาคารพานิชย์) อยู่หน้าบริษัทเวิลด์ เวลล์ การ์เม้นท์ จำกัด 4.บริษัทธนาคม (ทำตลาด) อยู่ที่บางแค บริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เม้นท์ จำกัด

    แรกเริ่มมีพนักงานประมาณ 500 คน มีเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทันสมัยจำนวน 60 เครื่องๆ ละประมาณ 2 ล้านกว่าบาท แบ่งสายการผลิตทั้งหมด 6 line คือ line A-F ตามลำดับ

    ลักษณะการรับงานของลูกค้า บริษัทรับออเดอร์จากยี่ห้อดังจากต่างประเทศ ผ่านตัวแทนในประเทศไทย เช่น

    - ปี พ.ศ. 2546 รับผลิตเสื้อของยี่ห้อดิสนีย์

    - ปี พ.ศ.2547-2549 ผลิต ออเดอร์ของลูกค้าบริษัทตัวแทนในประเทศไทย คือ วีเอฟ จำนวนหลายยี่ห้อ เช่น ฮาเล่ย์เดวิดสัน เครีน รีบ็อค แอนติกัว ซึ่งแต่ละยี่ห้อ สั่งผลิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีการทำงานล่วงเวลา (โอที) กันอย่างต่อเนื่อง และมากจนกระทั่งบริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เมนท์ ได้ส่งงานจำนวนหนึ่งไปให้โรงงานเหมาช่วง (Sub-contract) ทำที่อำเภอแม่สอด ได้แก่ บริษัทเสียงไถ่, ทรัพย์มั่นคง ,ฟูลี่ไทร์, อรุณชัยเท็กซ์ไทน์, เอ.ที.การ์เม้นท์

    - ปี พ.ศ.2550 ผลิตยี่ห้อสคูล, คารีน่า, จ็อกกี้, สโนว์แอนด์ซัน, เอสแฟร์ พนักงานทำงานโอทีเป็นบางช่วง เพราะบริษัทเริ่มส่งเสื้อผ้าให้โรงงานเหมาช่วงทำเป็นจำนวนมาก

    - ปี พ.ศ.2551 ผลิตยี่ห้อไทรอัมพ์, สคูล, แอฟพาเรีย, แดเนียล, แอลแอลบีน, มามอท, แต่บริษัทได้ลดโอทีของพนักงานทั้งหมด เนื่องจากบริษัทส่งออเดอร์ไปตามโรงงานเหมาช่วงเกือบทั้งหมดจนถึงปี พ.ศ.2552 ให้คนงานพม่าทำด้วยค่าแรงราคาถูก

    บริษัทเริ่มลดคนงานในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บวกกับคนงานทยอยลาออกโดยสมัครใจเป็นจำนวนมาก เพราะรายได้น้อยมาก ไม่มีโอที และสวัสดิการเทียบเท่าโรงงานใกล้เคียง จากทั้งหมดที่มี 500 คนเหลือ 300 คน จนล่าสุดเหลือเพียง 41 คน ทำงานกับเครื่องจักร 30 กว่าเครื่อง ที่เหลือวางชิดมุมห้อง

    บริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เม้นท์ จำกัด มีพนักงานทั้งหมด 41 คน เป็นหญิง 36 คน เป็นชาย 5 คน พนักงานส่วนใหญ่อายุมาก มีอายุการทำงาน10-15 ปี จำนวน 8 คน อายุการทำงาน 5-10 ปี จำนวน 4 คน อายุการทำงาน1-4 ปี จำนวน 19 คน จากจำนวน 41 คน มีพนักงานรายเดือนทั้งหมด 10 คนอายุงาน11-15 ปี จำนวน 4 คน ส่วน 6 คน อายุงาน 3-4 ปี ที่เหลือเป็นพนักงานรายวัน

    ทั้งคนงานรายวันและรายเดือนทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างผลกำไร และออเดอร์ต่อเนื่องให้บริษัท คนงานแผนกคิวซีเล่าว่า บริษัทได้ผลกำไรตอบแทนจำนวนมากแต่กลับไม่ขึ้นค่าจ้างให้คนงาน เช่น คนงานได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 203 บาท แต่สินค้าที่ผลิตแล้วถูกตีราคาชิ้นละประมาณ 700 บาท ส่งให้เอเย่นในเมืองไทย สินค้าของไทรอัมพ์นั้นชิ้นละ 1,950 หรือบางตัว 1,600 บาท

    2-3 ปีที่ผ่านมา ไทรอัมพ์ส่งออเดอร์มาให้เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ นายจ้างจึงสั่งให้คนงานเร่งทำล่วงเวลา แต่เมื่อเขาปลดคนงานทั้งหมดออกและปิดโรงงานในวันที่ 1 พ.ค. โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ยังลดเงินเดือนพนักงานรายเดือน 20%-25% ของเงินเดือน

    นายจ้างมีนโยบายให้แต่ละไลน์ทำงานแบบเหมาช่วงในช่วงปี 2548 เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด จำนวนผลผลิตมากขึ้น ใช้ระบบแข่งขันกันทำยอดการผลิต คือ หากสามารถทำยอดได้เกิน 200 ตัว ทุกคนจะได้เงินรางวัลผลผลิต เบี้ยขยัน ค่าฝีมือสำหรับคนที่เย็บในตำแหน่งที่ยาก-ง่ายตามลำดับ ดังนั้น หากทำยอดเกินจะได้รับรายได้คนละประมาณ 100-300/วีค ด้วยนโยบายดังกล่าว กดดันให้คนงานลาออกเป็นจำนวนมาก

    คนงานเวิลด์เวลล์ต้องกินค่าจ้างขั้นต่ำและสวัสดิการน้อยนิดมานานแล้ว นายจ้างพวกเขาไม่เคยปรับค่าแรงให้เอง ต้องให้เป็นไปตามประกาศการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งเพิ่มให้น้อยมาก ในอดีตคนงานทำงานได้ค่าแรงวันละ 100 บาทจนมาบัดนี้ค่าแรง 203บาท ทั้งยังให้ค่าเบี้ยขยัน ค่าฝีมือ รางวัลเพิ่มเล็กน้อย แต่ไม่มีโบนัสเลย ส่วนค่าล่วงเวลาให้ 1.5 เท่าของค่าแรงรายวัน

    ผลกระทบของการเลิกจ้างต่อสังคมไทย

    คนงานจำนวนมากเป็นคนอายุมาก และเป็นผู้หญิง บางส่วนตั้งครรภ์ ป่วย ขาดโอกาสที่จะได้งานใหม่ เมื่อถูกเลิกจ้างจึงตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น ต้องกู้เงินนอกระบบ ใช้เงินออมที่มีเพียงจำนวนน้อย ใช้หนี้สิน กลับไปอยู่บ้านนอก เป็นต้น ดังจะเห็นจากกรณีตัวอย่างนี้

    · ป้าช่อทิพย์ คนงานไทรอัมพ์ต้องเลี้ยงดูลูก 2 คน เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก ลูกๆ กำลังเรียนอยู่ คือ คนเล็กอายุ 12 ขวบ คนโตอายุ 17 ปี ทั้งยังมีหนี้สินอยู่ด้วย หากสหภาพแรงงานไม่สามารถต่อรองค่าชดเชยกับนายจ้าง เงินสะสมของเธอก็จะต้องถูกใช้ไปจนหมดในไม่ช้านี้แน่ ทั้งไม่สามารถจะหางานใหม่ทำได้เพราะอายุมาก และลูกๆ ก็จะได้รับความเดือดร้อน นายจ้างเสนอค่าชดเชยให้ 130,000 บาทซึ่งต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

    · คุณวราภรณ์กำลังตั้งครรภ์อายุ 31 ปี ถูกเลิกจ้าง และจะได้รับค่าชดเชย 50,000 บาทซึ่ง ไม่พอกับค่าเลี้ยงดูบุตรของเธอ ที่เธอได้วางแผนไว้แล้ว และถูกทำลายลง ตอนนี้เธอต้องพึ่งพิงสามีที่ทำงานมีรายได้เดือนละ 6,500 บาท ช่วงนี้เธอไม่สามารถออกไปหางานทำได้เพราะตั้งครรภ์ ไม่มีใครอยากรับเข้าทำงาน ถ้าไม่ได้ค่าชดเชยเพิ่มขึ้นหรือกลับเข้าไปทำงาน เธออาจจะต้องกลับบ้านนอกไปอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งทำไร่ทำนาที่จ.ศรีสะเกษ นอกจากนี้นายจ้างยังปลดคนงานที่กำลังตั้งครรภ์ อีกหลายสิบคนด้วย

    · ป้าสมพร คนงานเย็บผ้าคนหนึ่ง อายุ 51 ปี เริ่มทำงานที่บริษัทเวิลด์เวลการ์เมนท์เมื่อปีพ.ศ.2536 ตอนอายุได้ 35 ปี ไม่เคยเปลี่ยนงาน มีหน้าที่เย็บผ้าส่งออก ก่อนถูกเลิกจ้างได้ค่าแรงประมาณเดือนละ 8,000 บาท แต่ต้องทำงานล่วงเวลาด้วย แต่มาระยะหลังไม่ค่อยมีออเดอร์ได้ค่าแรง 5,000 บาทต่อเดือน

    ป้าสมพรมีลูกสาว 2 คน คนโตอายุ 23 ปี กำลังทำงาน คนเล็กอายุ 18 ปี กำลังเรียนปริญญาตรี ป้าสมพรต้องรับผิดชอบการเรียนของลูกด้วย ตอนนี้อยู่ที่สมุทรสาครเพียงลำพังและต้องจ่ายค่าเช่าบ้านซึ่งเมื่อก่อนไม่ ต้องจ่ายเพราะอยู่หอพักของบริษัท ส่วนลูกๆ อยู่กับพ่อ ที่จังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาชีพทำนาทำไร่

    หลัง จากถูกเลิกจ้าง คุณป้าคนนี้ต้องนำเอาเงินออมที่เหลือมาใช้จ่ายประจำวันซึ่งใกล้จะหมดแล้ว ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นคือ ค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาทของ ค่าอาหารวันละประมาณ 100 บาท ค่าเดินทางวันละ 20 บาทเพื่อมาชุมนุมหน้าโรงงานตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2552

    · คุณวรรณภา อายุ 35 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า ทำงานที่บริษัทเวิลด์เวลล์แห่งนี้เป็นเวลา 5 ปี 6 เดือนแล้ว ก่อนเลิกจ้างมีรายได้วีคละ 3,000 บาท ไม่ได้รับค่ารางวัลผลผลิต ค่าเบี้ยขยัน เพราะเป็นตำแหน่งตรวจสอบคุณภาพ ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูก 2 คน ซึ่งกำลังเรียนม. 4 และป.2 ดูแลพ่อและแม่ของตัวเอง อาศัยบ้านของพ่อแม่ ไม่ต้องเช่า วันหนึ่งต้องใช้จ่ายวันละ 150-180 บาท เมื่อถูกโกงค่าแรง ค่าชดเชย ทำให้ไม่สามารถหาเงินมาเป็นค่าเทอมของลูกๆ จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบเป็นจำนวนหลักหมื่น ดังนั้นจึงได้ไปสมัครงานใหม่ทำ

    ยังมีคนงานหญิงอีกจำนวนมากและครอบครัว ของพวกเขาที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างครั้งนี้ แต่เราสามารถจินตนาการได้ว่าพวกเขาจะอยู่อย่างไรหากไม่มีงานทำ กำลังแรงงานนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพลังสังคมทั้งหมด ที่รวมถึงคนงานข้ามชาติในประเทศไทยด้วย พวกเขาทำงานแบบรวมหมู่เพื่อสร้างมูลค่าส่วนเกินและความมั่งคั่งให้ผู้ประกอบ การเอกชน แต่กลับมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ โดยเฉพาะแรงงานชาวพม่าที่ไม่มี เสรีภาพและสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ซ้ำรายยังเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ด้วย

    ส่วนรัฐบาลนั้นเข้าข้างฝ่ายนายทุนเสมอ เวลาที่คนงานมีปัญหาข้อพิพาทกับนายจ้าง คนงานได้เรียนรู้ว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม เช่น กระบวนการยุติธรรมล่าช้า ไม่มีการลงโทษนายจ้างที่เลิกจ้างผิดกฎหมาย ไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างที่ควรจะเป็น คนงานไทรอัมพ์และเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ยังคงต่อสู้ปักหลักที่หน้าโรงงานต่อ ไปจนกว่าข้อเรียกร้องของตนเองจะได้รับการตอบสนอง

    Triumph International (Thailand) Labour Union 0058/2009

    20 July 2009


    Subject: Swiss multinational corporation Triumph International must rescind its dismissal of TITLU union members and workers of Body Fashion Thailand

    Dear Mr.Rodolphe Imhoof, Ambassador of Switzerland in Thailand,


    Triumph International started its Thai operations in 1969. The multinational garment company is currently headquartered in 3005, Bern, Switzerland and Triumph Intertrade AG, Triumphweg 6, 5330 Bad Zurzach, Switzerland. The brand’s local subsidiary, Body Fashion (Thailand) Limited, was registered in 1989 and is now located at 393, Moo 17, Bang Pli Industrial Estate, Bang Sao-thong Subdistrict, Bang Sao-thong District, Samut Prakan Province. Body Fashion manufactures and distributes lingerie and swimwear under the Triumph, Valicere, Sloggi, AMO, and HOM trademarks.

    On June 29th, Body Fashion’s management announced the dismissal of 1,959 employees, half of the Bang Pli plant workforce, effective August 31, 2009. Most of the laid-off workers are members of Triumph International Thailand Labour Union (TITLU), including thirteen sub-committees and committees of nineteen committees. Many of those dismissed are pregnant, sick, disabled and elderly workers who are not able to find new jobs or easily change their occupations after 20 to 30 years of dedicated service to Triumph.

    Body Fashion’s management claims that these August dismissals will be part of a restructuring and cost reduction plan that aims to increase overall company efficiency and to build confidence in the brand’s viability. Nevertheless, the management reported no such need for drastic restructuring measures before announcing August’s massive layoffs. Furthermore, Triumph has in fact stepped up production in its new, non-unionized Nakorn Sawan plant, buying land and building new facilities in order to accommodate an estimated 2,000 workers. This unequivocal effort at busting the Bang Pli-based TITLU union was generously funded by an aid package from Thailand’s Board of Investment (BOI). BOI’s subsidy, totaling in 75.5 million Baht, was reported in Thailand’s Naew-na newspaper, in the world business news brief column, on the 8th of July, 2008. With no union to represent their voices or address their grievances, 1,000 Triumph workers are already now employed in the newly constructed Nakhon Sawan plant. Finally, in protesting their illegal termination without compensation from the Mahachai-based subcontractor Worldwell Garment Co, Ltd. on May 1st, the company’s 41 former employees revealed that they had processed subcontract orders from Triumph International until 2008 without the TITLU’s knowledge in another clear attempt by Triumph to undermine the union while continuing with business as usual.

    These actions of the company management displays a complete disregard for the human rights of the diverse groups of workers devastated by their unjust business policies and calculated attempts at union busting for which Triumph has become known. Triumph International sees its employees as commodities to be exploited for their labour power, only to be discarded later without care. The management has continued in its ongoing efforts to undermine basic democratic principles by carefully avoiding or preempting all opportunities for consultation with the trade union representatives on measures necessary for finding creative solutions to the company’s perceived financial difficulties.

    Switzerland boasts a longstanding reputation as a staunch defender of human and workers’ rights, hosting the headquarters of the ILO and different humanitarian organizations within its territory. In keeping with the country’s commitment to such rights, multinational companies with their main seats located in Switzerland should run their overseas business operations in accordance with basic international standards. As Switzerland and Thailand both count themselves among members of the Human Security Network (HSN), the Triumph International (Thailand) Labour Union calls upon both countries to now assert their commitment to building human security and protecting dignity.

    The stated aims of Swiss foreign policy, as declared on January 1, 2000, were to promote peace, mitigate global poverty and maintain respect for democracy. Acceding to full membership within the United Nations in September, 2002, Switzerland once again affirmed its commitment to human rights, among other important projects. Switzerland continues to be honored by countries in the Asia-Pacific Region as a valuable negotiator in crucial political and humanitarian conflicts. The rehabilitation and enhancement of women’s livelihood are important issues with which Swiss agencies rightfully continue to grapple. The 1,959 laid-off workers of Triumph International (Thailand) are, of course, mostly women. Many of them are pregnant, sick, disabled, and elderly. In spite of all of these afflictions and ailments, what made these women clear targets for dismissal by Triumph was indeed their healthy resilience: these women had won decent wages through decades of hard-won salary increases and built up a strong and responsive union after decades of intense struggle.

    We, Triumph International (Thailand) Labour Union, urge the Swiss Embassy of Thailand to intervene in this urgent case. Our demands of the Swiss multinational Triumph International are as follows:

    To rescind the August dismissal notices and reinstate all 1,959 workers back to their jobs

    To disclose information in line with the international standards and OECD Guidelines based on the OECD Guidelines for MNEs. The information being disclosed should be reliable and true regarding company body, financial status, result of business implementation, factory’s surroundings and environment, employment and labour relations as well. Employees’ rights must be respected and equally treated.

    Furthermore, in case of massive dismissals, the company should consult with the trade union and government bodies in order to find appropriate solutions and minimize negative effects on workers to the extent that it is possible, as Switzerland is in the group of OECD, and should follow the regulations strictly.

    To conduct social dialogue with the trade union in order to discuss policies which may affect workers’ livelihood and to reduce the tension and disputes between the management and employees. Based on the human rights inherent in democratic societies as well as the OECD Guidelines for MNEs relating to employment and industrial relations, social dialogue leads to the development of creative and acceptable solutions that avert or minimize the effects of collective dismissal. Such social dialogue complies with the one-year measure of the Thai government in terms of maintaining and raising peoples’ income by means of cooperating with private sector in reducing the unemployment and dismissals and in preventing of increasing the number of dismissed workers.

    To follow Triumph International’s Code of Conduct which emphasizes human rights as defined by the Universal Declaration on Human Rights, ILO conventions, and the UN Global Compact


    We hope that you will honestly follow our demands mentioned above.






    Respectfully yours,


    Miss Bunrod Saiwong
    Secretary of Triumph International (Thailand) Labour Union



    CC: International Labour Organization , Human Security Network (HSN)
    Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)
    Mr. Abhisit Vejjajiva Prime Minister of Thailand

    บรรษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์ นายทุนชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ยักษ์ใหญ่ “Triumph” ไม่ยอมรับหลักปฎิบัติ (OECD) เลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการ 1,959 คน ซึ่งมีแต่คนงานอายุมาก คนท้อง คนป่วย คนพิการ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน

    สะท้อน “วัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย” จะเป็นจริงได้หรือไม่ถ้าปล่อยให้นายทุนของประเทศตนกระทำกับคนไทย
    เรียนพี่น้องประชาชนทุกท่าน

    พวกเราองค์กรเพื่อนมิตรและคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM บริษัทฯได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถูกเลิกจ้างถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน เป็น มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษํทมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน ในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน

    สหภาพแรงงานฯเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ เป็นการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งการดำเนินกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษี และทำลายสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานฯ จึงเดินทางจากสมุทรปราการมาขอเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ “รัฐบาลแห่งสมาพันธ์รัฐสวิสเซอร์แลนด์ การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่รุนแรงไร้ซึ่งมนุษยชนที่ดีควรกระทำ ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากแค้นและไม่มั่นคงในชีวิต รวมถึงยังเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของสังคมประชาธิปไตย เนื่องจากไม่มีการปรึกษาหารือร่วมเพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์ “

    ในฐานะที่ประเทศของท่านมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและสำคัญแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเป็นที่ตั้งสำคัญขององค์กรสิทธิต่างๆหลายองค์กร แน่นอนรวมถึง ILO ด้วย ซึ่งบรรษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนดำเนินกิจการในประเทศต่างๆจำเป็นต้องดำเนินกิจการบนพื้นฐานหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และประเทศของท่านเป็นสมาชิกมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก ที่ว่าการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ธุรกิจควรเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ อาทิ โครงสร้างองค์กร สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคมบริเวณโดยรอบองค์กร และที่สำคัญการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ (Employment and Industrial Relations) ธุรกิจควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเท่าเทียมกัน ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจแก่ลูกจ้างและผู้แทนสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด การเลิกจ้างเป็นกลุ่มจำนวนมากอย่างนี้ นายจ้างจะต้องปรึกษากับองค์การลูกจ้างและรัฐบาลในการหาทางออกเพื่อลดผลกระทบต่อคนงานให้มากที่สุด ซึ่งประเทศของท่านอยู่ในกลุ่ม OECD ด้วย จึงจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

    นอกจากนี้แล้วตัววัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ภายหลังเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กันยายน 2545 สวิตเซอร์แลนด์ได้มีบทบาทแข็งขันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้รับการยกย่องในฐานะที่มีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี ซึ่งการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คนในครั้งนี้ เกือบทั้งหมดเป็นสตรี และที่สำคัญหลายคนอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ พิการ เจ็บป่วยและใกล้เกษียณอายุ พวกเราจึงขอความเป็นทำต่อการกระทำของนายจ้างครั้งนี้ด้วย

    ในขณะนี้คนงานทั้งหมดชุมนุมอยู่ที่ ข้างโรงงานเพื่อรอความเป็นธรรม ทุกท่านสนับสนุนการต่อสู้ได้ติดต่อ
    เบอร์โทร 084-5382016 เบอร์โทร 087-0206672 Email: ning2475@hotmail.com
    สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย 24 กรกฎาคม 2552

    เรียนเชิญทุกท่านทุกองค์เข้าร่วมทำข่าวและร่วมเดินขบวนไปหน้าสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์

    เนื่องด้วย เวลา 10.00 น. วันที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ.2552 สมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชันแนลแห่งประเทศไทย ประมาณ 1,000 บริเวณตรงข้ามเซนทรันเวิลใกล้แยกพระพรม เพื่อทำการเดินขบวนไปยัง สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ(ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ)

    เพื่อที่จะยื่นหนังสือให้สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่เคยประกาศไว้ คือส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงต้องการในทางสมาพันธ์สวิสเซอร์แลนด์ติดตามวัตถุประสงค์ของตนเองอย่างเคร่งครัด ด้วยการเรียกร้องให้บริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ทำการเลิกจ้างพนักงานในไทย 1,959 คน โดยไม่ปรึกษาหารือกับพนักงานก่อน นอกจากนี้ในจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างยังประกอบด้วย สตรีกำลังตั้งครรภ์ คนพิกาล และผู้สูงอายุ จำนวนมาก ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่สามารถหางานใหม่ได้ เพื่อสอดคล้องกัลวัตถุประสงค์ของนโยบายดังกล่าวจึงต้อง

    - ยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงานทั้งหมดของ บริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล
    - ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามหลักมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs
    - เปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร
    - ปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
    (the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ

    จึงเรียนมาเพื่อเชิญทำข่าวและเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

    จิตรา คชเดช (หนิง)
    สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
    087-020 - 6672
    Skype : Jittra08

    สทอท.ที่ 0058/2552
    20 กรกฎาคม 2552

    เรื่อง ขอให้บรรษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์ยุติการเลิกจ้าง
    เรียน นาย โรดอล์ฟ อิมฮูฟ(Mr.Rodolphe Imhoof) เอกอัครราชทูตสมาพันธ์รัฐสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย

    ด้วยบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2512 สำนักงานใหญ่อยู่ที่ ธุนสแตรสเช่ 3005 เมืองเบิร์น ประเทศสวิสและ Triumph Intertrade AG, Triumphweg 6, 5330 Bad Zurzach, Switzerland และได้มีบริษัทลูกได้จดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อ ปี 2332 ชื่อบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO HOM เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ได้การประกาศเลิกจ้างคนงานทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯ ในวันที่ 31สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ อนุกรรมการสหภาพแรงงาน และเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน ในการเลิกจ้างครั้งนี้ได้เลิกจ้างคนท้อง คนใกล้เกษียณ คนป่วย คนพิการและส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิงที่มีอายุงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และไม่สามารถไปหางานใหม่ หรือไปประกอบอาชีพอื่นได้ ในสิ่งที่ทุกคนต้องการคือการมีงานทำ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” โดยก่อนหน้านี้ก็ไม่มีมาตราการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนเลย ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ซึ่งเป็นข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า สรุปข่าวโลกธุรกิจ ลงวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2008 ว่าได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน โดยในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ที่ถือเป็นองค์กรสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน

    การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่รุนแรงไร้ซึ่งมนุษยชนที่ดีควรกระทำ ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากแค้นและไม่มั่นคงในชีวิต รวมถึงยังเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของสังคมประชาธิปไตย เนื่องจากไม่มีการปรึกษาหารือร่วมเพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์
    ในฐานะที่ประเทศของท่านมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและสำคัญแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเป็นที่ตั้งสำคัญขององค์กรสิทธิต่างๆหลายองค์กร แน่นอนรวมถึง ILO ด้วย ซึ่งบรรษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนดำเนิน


    กิจการในประเทศต่างๆจำเป็นต้องดำเนินกิจการบนพื้นฐานหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และประเทศของท่านเป็นสมาชิก เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network - HSN )เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเครือข่ายดังกล่าวก็มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์โลกมนุษย์ซึ่งประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความมั่นคง (security) และมีศักดิ์ศรี (dignity) อีกเช่นกัน

    นอกจากนี้แล้วตัววัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ภายหลังเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กันยายน 2545 สวิตเซอร์แลนด์ได้มีบทบาทแข็งขันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้รับการยกย่องในฐานะที่มีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี ซึ่งการเลิกจ้าง 1,959 คนในครั้งนี้เกือบทั้งหมดเป็นสตรี และที่สำคัญหลายคนอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ พิการ เจ็บป่วยและใกล้เกษียณอายุ
    ดังนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯจึงขอเรียกร้องต่อท่านให้บรรษัทข้ามชาติที่ เป็นบริษัทจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ปฎิบัติต่อคนงานดังนี้
    ให้บริษัทฯยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงานทั้งหมดและให้รับคนงานกลับเข้าทำงานตามปกติ

    ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามหลักมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs  ที่ว่าการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ธุรกิจควรเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ อาทิ โครงสร้างองค์กร สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคมบริเวณโดยรอบองค์กร และที่สำคัญการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ (Employment and Industrial Relations) ธุรกิจควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเท่าเทียมกัน ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจแก่ลูกจ้างและผู้แทนสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด การเลิกจ้างเป็นกลุ่มจำนวนมากอย่างนี้ นายจ้างจะต้องปรึกษากับองค์การลูกจ้างและรัฐบาลในการหาทางออกเพื่อลดผลกระทบต่อคนงานให้มากที่สุด ซึ่งประเทศของท่านอยู่ในกลุ่ม OECD ด้วย จึงจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

    บริษัทต้องเปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร เพราะการปรึกษาหารือเป็นการเคารพในสิทธิมนุษยชนของคนงาน เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้กันในสังคมประชาธิปไตย และหลัก OECD Guidelines for MNEs ในเรื่องของการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ อีกเช่นกัน  เพื่อนำไปสู่การหาทางออกที่สร้างสรรค์และลดผลกระทบของการเลิกจ้างในกรณีของการเลิกจ้างพร้อมกันหลายคน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี ของรัฐบาลไทยในเรื่องของการรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน ที่เสนอให้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง แน่นอนทางสหภาพแรงงานฯมั่นใจว่ามีอีกหลายทางเลือกที่สร้างสรรค์

    ให้บริษัทฯปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
    (the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติ (UN Global Compact)


    ฉะนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะสนับสนุนและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังและเร่งด่วน
    จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้

    ขอแสดงความนับถือ



    นางสาวบุญรอด สายวงศ์
    เลขาธิการสหภาพแรงงาน


    สำเนาถึง : International Labour Organization , Human Security Network (HSN)
    Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)
    Mr. Abhisit Vejjajiva Prime Minister of Thailand
    Communication Service FDEAFederal Palace East Wing 3003 Bern

    Triumph International in Thailand:

    A Lucrative Process of Production Guaranteed by a History of Union Busting, Government Complicity, and Exploitation
    (Revised from the TLC letter to Triumph International (Thailand) Labour Union (TITLU), labour movements, Thai civil society)


    Dear comrades and friends,

    In 2003, the former president of TITLU vouched that “Triumph workers will never face the layoffs and closures that have afflicted other Thai garment factories.” When I posed the question again, she insisted once more: “It will never happen to Triumph workers.”

    The impossible has now indeed happened. On 29 June 2009, the management of Triumph International announced the massive dismissal of 1930 middle-aged and elderly workers, all of whom not only have worked in the company’s oldest production unit, Swimwear, but also have been members of the oldest and strongest women trade union in Thailand. Just two days earlier, 1,660 workers were laid-off at Triumph’s Philippines facility as well. This means that in one concerted effort, Triumph International has successfully busted its two oldest and strongest trade unions in two separate countries. In doing so, they have terminated 3590 workers who have constituted, through up to 30 years of dedicated service, the main productive force behind the wealth and prosperity that has made the Triumph International a hugely profitable multinational garment corporation.

    Triumph International’s July, 2008 dismissal of Miss Jitra Kotchadej, then-president of TITLU, served as one of the first clear indicators of the company’s new, sustained effort at union busting. When the company attempted to justify Miss Kotchadej’s termination on wholly inadequate grounds, more than 3,000 members of TITLU decided to immediately strike and rally in front of the factory for 46 days, from July 30 to September 12, 2008. While an agreement was reached in which all striking workers were to be reinstated, the company insisted that Jitra could return only under court order. Nevertheless, the union had other plans for their esteemed ex-president, and they hired Jitra as a union consultant, although Triumph prohibited her from entering the company compound to meet union members.

    TITLU is comprised solely of women workers, and it has been no stranger to management’s aggressive busting behavior. The union was founded in 1980, and nearly 100% of the production line and sales department staff count themselves among its members, hundreds of whom are in fact founding members. If July ’s strike is any indication of the union’s sense of solidarity, without parallel in Thailand, it comes as no surprise that most of the union members have already dedicated themselves to the company’s service for ten, twenty, or even thirty years.

    TITLU is widely recognized throughout the Thai labour movement for its active participation in many campaigns and actions advocating women’ rights. Every year, members have led successful street rallies on International Women’s Day and May Day. Three years ago, the Union and Textile, Garment and Leather Workers’ Federation of Thailand petitioned for abortion rights in the country. Having seen so many of their fellow workers suffering from the dangerous side effects of unsafe abortions in illegal clinics, TITLU members were particularly vocal in their demands for legal standards that meet the basic health needs of the millions of women in Thailand who cannot afford to properly raise children in the absence of any significant social welfare program from either Thai-based employers or the Thai government.

    Past and current TITLU leaders have seen many successes in their CBA demands with Triumph’s management over the course of the union’s thirty-year history. On the other hand, many leaders have also been dismissed or forced to resign for their active participation in the union during this same period of time. Triumph employees’ hard-won position in the top payment and welfare bracket among Thai garment workers stands as clear proof of the union’s strength and shrewdness. Nevertheless, TITLU members have yet to secure an acceptable retirement package for workers at the factory.

    On account of cheap labor furnished by women workers in developing countries such as Thailand, Triumph International has accumulated huge profits, all while enjoying the added benefits of Foreign Direct Investment (FDI) subsidies and myriad other privileges granted by Thai and other developing countries’ governments. Bolstered by such privileges, and with production costs kept at a bare minimum, Triumph’s business has grown rapidly. Today, the company maintains subsidiary factories and distribution centers in 125 countries, directly employing over 40,000 workers (some 5,000 of whom work in Thailand).


    Triumph International has always sought out special economic incentive packages from the governments of those countries of the Global South in which it has opened factories or other facilities. On July 8, 2008, in the midst of its heated attempt to get rid of the union leader at its Samut Prakan plant, Body Fashion (Thailand) Ltd., Triumph’s Thai subsidiary, nevertheless succeeded in securing a 75 million Baht (1.6 million Euro) subsidy from the country’s Board of Investment (BOI) for an expansion of another factory, 300 kms north of Bangkok:


    BOI said that it has finalized its plans to support investment in Body Fashion (Thailand) Ltd., a lingerie and swimwear manufacturer operating under the Triumph trademark, that now ranks of among Thailand’s most essential productive forces. Triumph is also the biggest manufacturer in the Asia Region. In order to help the company to increase its productive force of clothes (i.e. lingerie, swimwear, etc.) to two million items, BOI has approved a 75.5 million THB subsidy for the company’s proposed Nakhon Sawan Factory.

    Naew Na Newspaper, World Business News Brief-July 8, 2008

    In approving Triumph’s grant, BOI turned a blind eye to the company’s sustained, well-documented efforts at union busting, along with other threats against its workers. Companies are ostensibly only eligible for BOI subsidies upon demonstrating some minimal concern for the employment rights of their workers, and yet the government agency has not once cited any of the innumerable workplace violations committed regularly by the recipients of its grants. Because unions representing many such subsidized businesses have submitted repeated complaints to the BOI regarding their employers’ illegal and exploitative behavior, the agency’s silence can only be regarded as full complicity in these businesses unrelenting attempts to further squeeze workers in a time of deepening economic crisis.

    TITLU’s fierce response to the illegitimate dismissal of Miss Kotshadej last July testifies to the union’s willingness to demand justice of Triumph International’s management at the risk of protracted weeks of demonstrations. Furthermore, the union proved to be capable of immobilizing Triumph’s lucrative production cycle in Thailand, demonstrating the true value of the company’s workforce all before bigger plans for a massive layoff were confirmed by managers this June.

    Triumph’s Thai branch justified this present layoff on the grounds that in the past months it has received no orders, and has consequently been operating at a significant loss. In fact, the company has simply outsourced its ongoing production to many small subcontractors. On May 1st, 2009, when Worldwell Garment Co., a small Thai subcontractor for many premium multinational garment brands, laid off all 41 of its employees, the disgruntled workers revealed that one of the brands for whom they had subcontracted for the past two years was Triumph. Clearly, the orders have continued to come in to Triumph’s Thai office, but have been discreetly moved to small, quiet, nonunion subcontractors such as Worldwell. The Worldwell Garment Co. workers have now entered the third month of their vigil at the gates of their former place of employment, still demanding the 2.5 million Baht that is their legal due after dedicated years of service at the very bottom of Triumph’s subcontracted chain of production.

    TITLU and Worldwell workers should now cooperate in disclosing Triumph’s entire process of production, as it is illustrates the brutal race to the bottom to which so many other multinational garment companies have also unwaveringly committed themselves. Triumph is only one of the many garment brands that now resorts to regularly outsourcing orders to local subcontractors, enjoying even lower production costs among migrant workers whose labor rights are nonexistent, while fundamentally challenging unions such as TITLU’s ability to organize and advocate working conditions that do not amount to sheer exploitation.

    Recommendations for Immediate Action

    1. The precarious situation that Thai (and Philippine) factory employees now face only reaffirms the pressing need for the kind of collective bargaining and solidarity made possible by worker organization. This need was recognized among Thai Triumph staff three decades ago when they first formed their union.

    2. TITLU should shift its focus from proving that the factory has misrepresented its sales figures to exposing Triumph International’s exploitative production supply chains, whose inherent abuses of vulnerable workers will only worsen if June’s layoffs diminish the union’s power. Such a reorientation will allow TITLU’s militant leadership to coordinate its actions with those of workers who also have some stake in Triumph’s race to the bottom, namely Worldwell subcontractors and recently dismissed Philippine union members. A linkage among workers’ struggles both in Thailand and internationally can be accomplished by TITLU without compromising the union’s militant stance against worker exploitation. For many years, union members have struggled to hold Triumph to its own codes of conduct, demanding that orders not be outsourced to non-unionized workforces. Consequently, TITLU and other unions should now assert that in dismissing so many active union leaders and union members among those 1930 Thai and 1660 Philippine workers laid off in June, Triumph International has come in serious violation of its own stated labor standards

    3. While the union should certainly continue to demand the reinstatement of all terminated workers, a letter from Triumph’s European headquarters responding to an initial query made by the Clean Clothes Campaign insisted that the company’s decision would be final. With this in mind, TITLU should simultaneously negotiate with Triumph’s management over the terms of severance compensation that will be provided for terminated workers, should their jobs indeed not be reinstated. TITLU ought to stipulate that the company offer a payment package beyond Thailand’s legal minimum, as the dismissed women workers have dedicated themselves to the factory for many years. While June’s massive layoff is an unmistakable case of union busting on the part of Triumph’s Thai management, a secondary concern that motivated these employees’ terminations was the company’s desire to further cut costs. Just as an overwhelming number of workers fired counted themselves among the union’s membership, a similarly disproportionate number of senior workers were fired after they had slowly increased their monthly salaries through decades of dedicated service to Triumph.

    4. TITLU could stand to learn from the case of Bangkok’s Gina Form Bras workers, all of whom were fired upon the company’s abrupt closure in 2006. In response to workers’ protests, the employer ultimately paid its terminated employees six-months’ compensation package, on top of the Thai Law. Using Gina Form Bras as a model, Triumph’s union should bargain holistically over compensation terms, demanding that the company offer not only the payment that is required by Thai law, but also an additional sum according to the number of years an employee has been with the company, as this system is the standard used in industrialized nations such as Switzerland, where Triumph International is headquartered. Finally, TITLU should insist that ex-workers are given access to an acceptable new job opportunity scheme that is supported by the Triumph International and the Thai government.

    5. Triumph union must call for BOI to approve a grant for rehabilitating these dismissed workers’ lives and establishing their own self-managed companies or cooperatives. This grant should either reach BOI’s maximum for cash awards, or total in an amount no less than twice the value of grant offered to Triumph International to expand its’ Nakhon Sawan plant in the midst of worker protests at the company’s Bang Pli facility. Because Triumph workers’ labor has greatly enriched the country for many years, it is high time that the Thai government recognize their contribution by giving a stimulus package to those who need such funding most.

    6. The minimum wages offered to women workers by garment industrial groups are a key component of these companies’ common, exploitative business model. The current wage stipulated by law falls below that required for survival with even basic dignity in Thailand. The Thai government’s current endeavor to carry the multinational-heavy garment industry fails as a sustainable economic solution. In the short term, tax privileges, generous subsidies, and suppressed daily wages of 155 Baht/day (3.3 Euro) may attract some investment from multinationals, such as Triumph’s construction of its Nakhon Sawan facility. Nevertheless, the cost of this government support is severe, for not only the thousands of workers in Triumph’s old Bang Pli facility, whose union is crippled by the new non-union Triumph plant, but also for the future workers of the Nakhon Sawan plant, whose own future attempts at union organization, if any, will be met by just one more campaign of busting typical of Triumph as the company builds yet another factory at some third location. Clearly, there is no way to chase Triumph’s capital once it disappears across a border as soon as subsidies and other acts of government collusion against Thai workers cease. Thailand’s development framework should be directed from the bottom up, and not be partial to the capitalists any more.

    7. Thai unions and labour movements, especially the Garment, Textiles, and Leathers Labour Federation of Thailand, should take this opportunity to cooperate in campaigning for their demands, and to call upon both employers and government organizations (including the Ministry of Labour, BOI, and Prime Minister’s Office) to take decisive measures in establishing legal norms within the government’s policy framework to provide for the security of workers who face unfair dismissal.

    The Thai Labour Campaign, along with its regional and international allies, will continue to support the struggle of the Triumph union’s members and their families. Having campaigned against multinationals for workers’ basic rights to economic justice over the course of twenty years, we are growing weary of what have become familiar patterns of maximized profits over people, government complicity, and union busting in Thailand and developing nations across the world.

    Since 1996, the Thai Labour Movement and its international allies have struggled for workers’ rights against a formidable list of companies that operate out of Thailand: Eden Garment, Par Garment, Master Toy, Thai Krieng Textiles, Iryo Garment, Jintana, Bed&Bath, Lian Thai, Centago Frozen Chicken, Mikasa, Gina Form Bras, Triumph, among many others. The abuses in almost all of these cases took union labor as their common target. While some factories have closed down to escape their trade unions, others were quick to exploit Thailand’s devastating 1997 economic crisis to push through huge layoffs and blatant union busting efforts that would have met with public outrage had the global economic climate not been so bleak. Still, many of these bosses continue to operate their old businesses under new names in new locations (producing for global brands), now exploiting the cheap labor readily available in the county’s impoverished Northeast province, or moving operations to similarly desperate regions in neighboring countries. Having learned in 1997 the almost infinite potential for disciplining union labor during a period of economic crisis, owners of Thai factories are now once again using the global economy as an excuse to launch full scale attacks on their local unions. Although most of the bosses for the above-mentioned companies did not pay the compensation required by law upon the closure of their factories, these bosses have faced no criminal charges in Thailand’s courts.

    For three decades the Triumph labor union has built up an exemplary record of labor activism that has inspired workers’ struggles throughout Asia just as much as it has made the union a lightning-rod for an unending series of efforts by company management to divide, undermine, and ultimately destroy its leadership. These busting efforts have yet to have any effect on TITLU’s resolute worker solidarity, which has proved instrumental in securing dignified wages for the dignified labor of Triumph’s employees, and has also allowed the union takes an active role in struggles over women’s reproductive health, subcontracted labor, and the human rights. A crippled Triumph labor union means that 1930 middle-aged and elderly Thai women could face an uncertain future with no employment prospects outside of highly exploitative work in Thailand’s underground economy. Furthermore, because TITLU operates at the radical forefront of workers’ advocacy in Thailand, their diminished capacity to collectively bargain, strike, and in turn inspire others will result in the center of the entire Thai labor movement shifting dramatically to the right, away from workers’ protection and towards a wholesale disregard of basic labor rights. The stakes are thus very high, and the outcome of Triumph’s struggle will have a real effect upon so many other workers whose factories are closed and whose unions are squeezed during this time of economic crisis.

    The case of Triumph calls into question the common belief that labor officers must limit their aims to reconciling workers with employers and quickly ending disputes. The government must actively cooperate with trade unions in their negotiations with capitalists who, while have always enjoyed so many privileges by establishing facilities in poor nations such as Thailand, rarely leave any lasting benefits for their workers or the country as they move to another district, province, or country. Systematically, these abuses of workers committed by companies such as Triumph International can only be avoided with better standards and legislation regarding compensation payments and assistance schemes made available to dismissed workers.

    Achieving this kind of systematic change is the clear burden shared by the Thai labor movement, civil society, labor activists, consumers and global union’s movement, the abandoned workers of Triumph and Worldwell, and the millions of other factory workers throughout the country whose employment remains so precarious.

    In Solidarity,


    Junya Yimprasert
    Chief Coordinator
    Thai Labour Campaign

    อีเมล์จากลิต้า เดอลา ครูซ ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ 7 ก.ค.52 19.08 น.

    สวัสดีเป็นอย่างไรบ้าง คนงานไทรอัมพ์ ฉันขอโทษที่หาเวลาตอบเมล์ยากมาก เราอยากส่งข้อความสมานฉันท์ในนามของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ และความเห็นอกเห็นใจคนงานที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้
    ไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ว่าจะยกเลิกกิจการในประเทศและจะลอยแพพนักงาน 1,630 คนในโรงงานสาขา 2 แห่ง การกระทำของนายจ้างนี้ไร้ความเป็นธรรมและไร้มนุษยธรรม ผิดกฎหมายเพราะไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณแรงงานของประเทศและข้อตกลงร่วม เราจึงปักหลักประท้วงเพื่อประณามผู้บริหารที่ทำกับเราแต่ฝ่ายเดียว เรากำลังตั้งแง่กับความชอบธรรมทางกฎหมายของบริษัท พร้อมกับเรียกร้องให้มีการบอยคอตสินค้ายี่ห้อไทรอัมพ์ทั่วโลกด้วย หากไม่จัดการกับปัญหานี้

    จากที่เราได้สำรวจพบว่า จำนวนพนักงานครึ่งหนึ่งทั่วโลกได้รับผลกระทบจากแผนการปรับโครงสร้างการผลิต (fit for the future plan) ของไทรอัมพ์ อันเนื่องมาจากพิษวิกฤตการเงินทั่วโลก เราสัญญาที่จะส่งข่าวสถานการณ์และความคืบหน้าไปให้ ส่วนหนังวิดีโอและแถลงการณ์ของเราโปรดดูในเว็บไซด์ http://www.bpmti-ind.webs.com
    เรายังคงสนับสนุนการต่อสู้ของจิตรา และเรียกร้องให้สมาชิกเคลื่อนไหว การต่อสู้ของจิตราไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองแต่เพื่อชนชั้นแรงงาน
    สามัคคีกรรมกรสู้เพื่อสิทธิของเรา ขอให้ความสมานฉันท์จงเจริญ

    สมานฉันท์
    ลิต้า เดอลา ครูซ
    ประธานสหภาพแรงงาน (BPMTI-TPMU-Independent)

    ---------------------------------------------------
    อีเมล์จากลิต้า เดอลา ครูซ ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ 8 ก.ค.52 18.04 น.

    ขอบคุณมากที่ทำให้เราได้ติดต่อกันเพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งในการต่อสู้ปกป้องสิทธิแรงงาน ในช่วงที่ยากลำบากที่แรงงานมักตกเป็นเหยื่อของนายทุนที่ปฏิบัติต่อเราอย่างไม่ใช่คน อย่างนายทุนไทรอัมพ์และเจ้าหน้ารัฐที่ไม่ปกป้องประชาชนของตัวเอง โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงาน เราไม่มีทางเลือกแต่เราต้องสร้างความสมานฉันท์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    ล่าสุด บ.ไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ได้เอาโลโกออกและชื่อบริษัทด้วยโดยไม่ได้อธิบายเหตุผลต่อสหภาพแรงงาน บริษัทได้ทำสำนักงานรอบนอกที่ตึกบริหารของ FTI เมืองทากิก ซึ่งรัฐได้เป็นเจ้าของตึกบริหารนั้นแล้ว ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของไทรอัมพ์ฟิลิปปินส์ได้เรียกตัวดิฉันเมื่อบ่ายวันที่ 8 นี้เพื่อขอนัดพบกับสหภาพแรงงานในวันเสาร์เวลาบ่ายสองโมง หลังจากวันศุกร์ที่จะมีการจ่ายเงินค่าชดเชย การจ่ายเงินค่าชดเชยเริ่มจากวันที่ 1 ก.ค.ถึงวันที่ 28 ส.ค. ก่อนที่การปิดโรงงานจะมีผลในวันที่ 29 ส.ค. แต่อาคารบริษัทถูกล็อคตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. เมื่อได้มีการแจ้งว่าบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยวันหยุดจนถึงวันที่ 29 มิ.ย. และพอวันที่ 30 มิ.ย.บริษัทก็ทำหนังสือแจ้งเรื่องปิดกิจการแก่กรมแรงงานและการจ้าง แต่เราสังเกตว่าในเอกสารดังกล่าวระบุว่า เป็นการตัดทอนรายจ่ายไม่ใช่ปิดกิจการ เราจึงได้ตรวจสอบกับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบและพบว่าลูกจ้าง 142 คนได้ออกไปแล้วรวมถึงผู้บริหารระดับสูง

    จนมาถึงบัดนี้ เรากำลังตรวจสอบความเป็นไปได้ว่าบริษัทจะเปิดดำเนินธุรกิจในไม่ช้านี้หรือไม่และดูว่าเป็นที่ใด

    เราเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐและให้มีการประชุมคณะกรรมการทั้งหมดในวันศุกร์ที่ 10 ก.ค.นี้ก่อนที่เราจะพบกับผู้บริหารในวันเสาร์ เราไม่ขอรับข้อเสนอการจ่ายค่าชดเชยใดๆ ของผู้บริหาร แต่เราต้องการงานของเรากลับคืนมาเพื่อให้อยู่รอดในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

    ส่วนการจะกดดันผู้บริหารต้องทำอย่างรวดเร็ว เราจะให้การสนับสนุน โดยคุณสามารถโทรศัพท์มาหาดิฉันได้ที่เบอร์มือถือ #+639164545634 ส่วนเบอร์สำนักงานสหภาพคือ 028383587

    สมานฉันท์
    ลิต้า เดอลา ครูซ

    -----------------------------------------

    คนงานไทรอัมพ์ฯจี้ แรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ให้บริษัทไทรอัมพ์ฯใช้มาตรฐานแรงงานไทย และเคารพกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ปี 18

    วันที่ 9 กรกฏาคม 2552 เวลา 9.00น. ได้มีคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO HOM เป็นคนงานหญิงทั้งหมดประมาณ 200 คน นำโดยนางสาวบุญรอด สายวงศ์ เลขาธิการสหภาพแรงงาน ได้เข้ายื่นหนังสือให้นายปฐม เพชรมณี หัวหน้าสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เร่งให้เข้ามาดูแลเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เรื่องการเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลบังคับใช้ และเป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐานแรงงานไทยแต่ไม่เคารพสิทธิสหภาพแรงงาน

    นายปฐม เพรชมณี หัวหน้าสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ตอบทำได้เท่าที่ทำได้เพราะ บางเรื่องเป็นเรื่องที่หน้าที่ของตนไม่สามารถทำได้ต้องเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่น ในเวลาต่อมานายจ้างไทรอัมพ์ฯโดยนายเคนเนต มาร์แชล ได้ยื่นหนังสือให้กลับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ มีข้อความสำคัญว่าการเลิกจ้างครั้งนี้มีเหตุผลประการเดียว คือบริษัทฯได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ จากสภาวการณ์นี้ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคและคำสั่งซื้อสินค้าโดยรวมลดลง ในการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเพราะการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานถือว่าเป็นความลับและบริษัทยืนยันได้เคารพหลักปฎิบัติ

    นางสาวบุญรอดสายวงศ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ได้ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงที่บริษัทไม่ทราบว่าใครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2551

    |


    สมาชิกสหภาพแรงงานได้ลงชื่อแสดงเจตนารมณ์กลับเข้าทำงานกรณีผละงานออกมาเรียกร้องให้บริษัทรับประธานสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงาน และสหภาพแรงงานได้ทำหนังสือแจ้งให้บริษัททราบว่าใครบ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน บริษัทกำลังบิดเบือนข้อเท็จจริงอ้างวิกฤต ฉวยโอกาสทำลายสหภาพแรงงาน คำสั่งซื้อลดลงแต่บริษัทฯเพิ่มคนงานที่นครสวรรค์จากเดิม ประมาณ500 คน เป็น 2,000 กว่าคน (ตามประกาศบริษัท)และเลิกจ้างคนงานที่บางพลี 1,959 คนและยังปล่อยงานออกไปให้ซับคอนแทคข้างนอกทำเช่นกรณีคนงานเวิลเวล การ์เม้นซึ่งเป็นซับคอนแทครับเย็บกางเกงว่ายน้ำผู้ชายยี่ห้อไทรอัมพ์ คุณบุญรอด ได้ทิ้งท้ายเป็นที่น่าสนใจว่ากรณีนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือท่านนายกอภิสิทธ์ เวชชาชีวะต้องเข้ามาดูแลเป็นพิเศษเพราะไม่เช่นนั้นนายจ้างจะฉวยโอกาสทำลายสหภาพแรงงานจนหมดสิ้น





    3 กรกฎาคม 2552

    เรียน
    คุณมาคูส สเปียสโฮเฟอร์ President and Managing Director of Triumph International
    คุณดีเตอร์ บราวน์ คุณโอริเวอร์ ไมเคิล สเปียสโฮเฟอร์ Mr. Leonardo innocenzi Corporate Head of Supply Chain
    คุณเคนเนต มาร์แชล ผู้จัดการทั่วไป

    ตามที่บริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯเป็นอนุกรรมการและกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุปันก็มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน
    สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯจึงขอคัดค้านการการเลิกจ้างดังกล่าว เพราะเหตุผลในการเลิกจ้างในครั้งนี้ยังไม่สร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ พวกเราเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการทำลายสหภาพแรงงาน ย้ายฐานการผลิตหาแหล่งค่าจ้างราคาถูก เป็นการเลิกจ้างคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานอายุมาก เพราะการปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสิทธิผลตามที่บริษัทกล่าวอ้างนั้นมีวิธีการที่สร้างสรรค์หลากหลายวิธีมากกว่าการทำลายสหภาพแรงงานด้วยการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คน ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้บริษัทก็ไม่ได้มีมาตราการอื่นที่จะสร้างประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจนเลย
    ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสขอให้บริษัทฯปฏิบัติต่อสหภาพแรงงานฯและคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ดังนี้



    1. ให้บริษัทฯยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คนและให้รับคนงานกลับเข้าทำงานตามปกติ

    2. ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามหลักมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs การเลิกจ้างเป็นกลุ่มจำนวนมากอย่างนี้ นายจ้างจะต้องปรึกษากับองค์การลูกจ้างและรัฐบาลในการหาทางออกเพื่อลดผลกระทบต่อคนงานให้มากที่สุด ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจในการบริหารจัดการที่ดีให้กับสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด
    บริษัทต้องเปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร เพราะการปรึกษาหารือเป็นการเคารพในสิทธิมนุษยชนของคนงาน เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้กันในสังคมประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้คนงานได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป

    3. ให้บริษัทฯปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ

    ฉะนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะยอมรับสหภาพแรงงานรวมถึงยกเลิกแผนการเลิกจ้างทั้งหมดให้ใช้หลักปฏิบัติต่างๆของท่านที่ท่านรับรองไว้อย่างเคร่งครัด จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านดำเนินการ
    จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้


    ขอแสดงความนับถือ


    นางสาววันเพ็ญ วงษ์สมบัติ
    ประธานสหภาพแรงงาน

    3rd July 2009

    Dear Mr.Deter Brown, Mr.Markus Spiesshofer, Mr.Wolfgang Spiesshofer and Mr. Oliver Spiesshofer

    Body Fashion Thailand Limited, a subsidiary of Triumph International, has announced a dismissal of 1,959 workers on 29 June 2009. The dismissal accounts for 50 per cent of workers in Bangplee plant. It will take effect on 31 August 2009. The majority of redundancies are union members. Clearly, 13 union committee members are dismissed out of total 19. The reason given by Body Fashion Thailand for this dismissal is that it is necessary to restructure long term costs of all units in order to increase efficiency and to ensure that the business will survive and keep growing when opportunity comes. Meanwhile, the company’s plant in Nakhon Sawan province was expanded last year by acquiring land and enlarging the plant that can serve 2,000 workers. Currently, there are over 1,000 workers at Nakhon Sawan plant but it has no trade union.

    We are writing you to express our protest against the dismissal since the reason given by the company is not credible enough. Therefore, we believe that this dismissal is aimed to destroy the trade union, relocate for cheaper labour and dispose of old workers who have served the company for many years. We believe that to improve business efficiency, the company can do better than lay off 1,959 workers by initiating other creative alternatives. Furthermore, the company has no other clear measures to improve cost before.

    In order to maintain transparency, we are demanding the company to take following steps.

    1. Recall the lay-off announcement of 1,959 workers and reinstate all of them to previous positions.

    2. Comply to OECD guideline for MNEs on Disclosure of Information. Since the union has not yet received clear and reliable information from the company, the union is not able to have effective discussion with the company to jointly seek the best solution for those affected. The dismissal of large number of workers will certainly have impact not only to the workers themselves but their family members and society. The dialogue between the union and company shall be done in good faith in order to minimize tensions between both parties and is well recognized in democratic countries.

    3. Comply to Triumph International Code of Conduct, which emphasizes on its respect to the UN General Declaration of Human Rights, UN Global Compact and ILO conventions.

    We sincerely hope that the company will recognize the trade union and revoke all lay- off plans immediately and comply to Triumph International Code of Conduct.

    Thank you in advance for your cooperation.

    ไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทข้ามชาติในประเทศไทยที่ใช้กระบวนการผลิตไหลลงเหว



    ถึง กรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ขบวนการแรงงานไทย และสังคมไทย



    เมื่อปี 2546 อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวยืนยันอย่างหนักแน่นแข็งขันกับผู้เขียนว่า “ไทรอัมพ์ไม่มีทางประสบชะตากรรมการถูกเลิกจ้างเช่นโรงงานอื่นๆ เมื่อผู้เขียนถามต่อว่าไทรอัมพ์เตรียมความพร้อมอย่างไรถ้าถูกปิดงาน อดีตประธานสหภาพแรงงานท่านนั้นกล่าวอย่างแข็งขันว่า “นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโรงงานไทรอัมพ์”

    แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็ได้เป็นจริงขึ้นมาแล้วเมื่อบริษัทประกาศเลิกจ้างคนงานที่มีอายุมาก ทำงานในแผนกที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหญิงที่เข็มแข็งที่สุดในประเทศไทย 1,930 คน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 และประกาศเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานในฟิลิปปินส์อีก 1,600 คน ในเวลาเดียวกัน เท่ากับเป็นการทำลายสหภาพแรงงานที่เก่าแก่ และเข้มแข็งที่สุดในกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ อินเตอเนชั่นแนล สองแห่ง ในสองประเทศที่เป็นกำลังการผลิตหลักที่นำความมั่งคั่งมาสู่กลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์จนเป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่

    จริงๆ แล้ว การเลิกจ้างครั้งนี้ ได้ส่อเค้าขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 เมื่อบริษัทไทรอัมพ์ ประกาศเลิกจ้างจิตรา คชเดช ประธานสหภาพแรงงานในขณะนั้น ด้วยข้อกล่าวหาอันเลื่อนลอย ครั้งนั้นสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 3,000 คน ได้ตัดสินใจประท้วงการกระทำของนายจ้างที่หน้าโรงงานโดยพร้อมเพรียงกันนับตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม – 12 กันยายน 2551 เป็นเวลารวมกัน 46 วัน จนบรรลุข้อยุติ คือบริษัทรับคนงานทั้งหมดกลับเข้าทำงาน โดยที่ปล่อยให้คดีของจิตรา คชเดช ดำเนินไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งทางสหภาพแรงงานก็ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้วเช่นกันโดยการรับจิตรา เข้าเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานในระหว่างการดำเนินคดี

    สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชันแนลแห่งประเทศไทย เป็นสหภาพแรงงานหญิง ที่นำโดยผู้นำหญิง ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ที่สามารถยืนหยัดและฝ่าฝันทุกกระบวนการล้มสหภาพแรงงานมาได้จนถึงปัจจุบัน ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2523 และมีสมาชิก และคนงานที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกันตั้งแต่ต้นที่ยังทำงานอยู่ด้วยกันจนถึงปัจจุบันนี้หลายร้อยคน นั่นหมายถึงว่าทำงานให้บริษัทไทรอัมพ์มากว่า 10 ปี 20 ปี และหลายคน กว่า 30 ปี
    ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จะนำสมาชิกออกมาร่วมเดินขบวนเรียกร้องเพื่อสิทธิแรงงานและสิทธิสตรีมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกิจกรรมวันสตรีสากลและวันกรรมกรสากล เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา สหภาพไทรอัมพ์ฯ และสหพันธ์สิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอข้อเรียกร้องที่ก้าวหน้าด้านสิทธิทางเพศของคนงานหญิง ได้แก่ สิทธิการทำแท้งได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้เพราะพวกเธอไม่ต้องการต้องเจ็บปวดกับการพบเห็นคนงานหญิงได้รับอันตรายทางด้านสุขภาพและชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่พึงประสงค์ในคลินิกเถื่อนทั้งหลาย และด้วยตระหนักดีว่าคนงานหญิงจำนวนมากไม่สามารถแบกรับภาระการมีบุตรในสภาพเศรษฐกิจ และสภาพการทำงานที่บีบคั้น โดยไม่มีมาตรการหนุนช่วยจากรัฐที่ดี ได้อีกต่อไป

    แน่นอนว่า ตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา แกนนำและสมาชิกสหภาพรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ต่อรองกับฝ่ายบริหารมาอย่างหนักและอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้นำหลายคนได้ถูกเลิกจ้างหรือบีบให้ลาออก แต่สหภาพก็ประสบความสำเร็จในการต่อรองกับฝ่ายบริหาร จนได้ชื่อว่าเป็นสหภาพแรงงานเอกชนในสาขาตัดเย็บเสื้อผ้าที่ดันเพดานค่าจ้างและสวัสดิการมาอยู่ในระดับสูงสุด แม้ว่าสหภาพจะยังไม่ประสบความสำเร็จในการต่อรองให้ได้มาในด้านสวัสดิการด้านความยังยื่นของชีวิต และกองทุนเกษียณอายุก็ตาม

    ไทรอัมพ์ อินเตอเนชั่นแนล เป็นบรรษัทข้ามชาติที่เติบโตมาจากการสะสมกำไร และความมั่งคั่งจากการใช้แรงงานราคาถูก และเป็นแรงงานหญิง ในประเทศที่มีค่าแรงถูกและได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายจากรัฐบาล โดยเฉพาะในประเทศไทย จนกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ สามารถพัฒนาเติบโตจนมีโรงงานและร้านค้าจำหน่ายในกว่า 125 ประเทศทั่วโลก คนงานร่วมกันทั้งสิ้นกว่า 40,000 คน (คนงานในประเทศไทย เพียงประเทศเดียวกว่า 5,000 คน)
    มันเป็นเรื่องตลกร้ายที่วิธีการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของทุนไทรอัมพ์กระทำในทุกโอกาส แม้กระทั่งในระหว่างที่วางแผนล้มสหภาพแรงงานและเลิกจ้างประธานสหภาพแรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการ บริษัทไทรอัมพ์ ก็ประสบความสำเร็จในการต่อรองความช่วยเหลือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย (บีโอไอ) ในการอุดหนุนการขยายโรงงานที่จังหวัดนครสวรรค์อีก 75 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551
    รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัทบอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ที่มีกำลังผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ภายใต้ แบรนด์ "ไทรอัมพ์" และเป็นผู้ผลิตใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียเพื่อขยายการลงทุนผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศไทยเพิ่มเติม เช่น ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ผ้าพันคอ เป็นต้น โดยมีกำลังการผลิตปีละ 2,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 75.5 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
    หนังสือพิมพ์แนวหน้า สรุปข่าวโลกธุรกิจ -- อังคารที่ 8 กรกฎาคม 2008

    บีโอไอ ไม่เคยบรรจุเรื่องพฤติกรรมนายจ้างในการปฏิบัติต่อคนงานในการอนุมัติความช่วยเหลือ แม้จะอ้างในหนึ่งในแนวนโยบายว่า “เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน” แต่บีโอไอ ไม่เคยตรวจสอบพฤติกรรมการละเมิดสิทธิแรงงานของกลุ่มธุรกิจเลย แม้ว่าจะมีคนงานหลายกลุ่มได้เคยพยายามยื่นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาแรงงานก็ตาม

    การกระทำของนายจ้างในกรณีการเลิกจ้างจิตรา คชเดช เมื่อปีที่ผ่านมาน่าจะเป็นการทดลองกำลังกับสหภาพแรงงานว่าจะสู้ได้นานแค่ไหน และเพื่อตัดทอนกำลังด้านการเงินของสหภาพแรงงานในการประท้วงเมื่อบริษัทประกาศเลิกจ้างสมาชิกจริงๆ ซึ่งก็คือขณะนี้
    ในขณะที่บริษัทอ้างว่าไม่มีงาน ไม่มีออเดอร์ และขาดทุนมาตลอดปีที่ผ่านมา แต่บริษัทกลับกระจายออเดอร์ไปให้โรงงานเล็กๆ รับเหมาช่วงต่อทำการผลิตจำนวนมาก ซึ่งสหภาพฯ ก็มีหลักฐาน และคนงานเวิลด์เวล ที่ถูกเลิกจ้างเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ก็ยืนยันถึงเรื่องนี้ได้ดี เพราะพวกเขาทำการผลิตสินค้าไทรอัพม์มากว่าสองปี จนกระทั่งบริษัทเวิลด์เวล ปิดกิจการ และค้างค่าชดเชยคนงานเวิลด์เวล 41 คน กว่า 2.5 ล้านบาท

    คนงานไทรอัมพ์และคนงานเวิลด์เวล จะต้องร่วมกันตีแผ่วิถีการผลิตของทุนอันน่ารังเกียจเช่นไทรอัมพ์ และแบรนด์ดังทั้งหลาย ซึ่งพยายามอย่างมากในการสร้างภาพลักษณ์ต่อสากลว่าเป็นบริษัทที่เคารพสิทธิแรงงาน และไม่มีการละเมิดสิทธิคนงานในประเทศผู้ผลิต แต่ในความเป็นจริงกลุ่มทุนไทรอัมพ์ ก็มีพฤติกรรมที่ไม่ต่างไปจากกลุ่นทุนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลายแม้แต่น้อย ทั้งกีดกั้นการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ทำลายสหภาพแรงงาน (สหภาพแรงงานที่เข้มแข็งที่สุดในกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ คือในประเทศไทยและในฟิลิปปินส์ถูกเลิกจ้างในเวลาเดียวกัน) ส่งงานออกไปทำยังโรงงานรับเหมาช่วงที่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน และส่งต่อไปจนถึงชายแดนแม่สอด ที่ได้ชื่อว่าละเมิดสิทธิแรงงานอย่างที่สุด และไม่มีคนงานใดในแม่สอดไม่ถูกละเมิดกฎหมายแรงงาน ทั้งไม่ได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย ไม่ได้รับจ้างจากการทำงานล่วงเวลา (บางครั้งได้ม่าม่าซองเดียว) ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด (ไม่มีวันหยุดทุกสัปดาห์) และไม่สามารถร่วมตัวต่อรองได้

    ข้อแนะนำต่อสหภาพแรงงานไทรอัมพ์คือ


    1. สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ไม่ควรเน้นการต่อสู้ด้วยการพิสูจน์ว่าบริษัทขาดทุนหรือได้กำไร แต่ควรเสนอข้อเท็จจริงว่ากระบวนการผลิตของไทรอัมพ์หลังจากเลิกจ้างกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานที่หัวก้าวหน้า จะเลวร้ายเป็นอย่างมาก ในหลายปีที่ผ่านมา สหภาพฯ พยายามอย่างหนักในการสร้างมาตรฐานการผลิตที่ไม่ละเมิดสิทธิแรงงานให้กับกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ และยังได้เรียกร้องไม่ให้มีการส่งสินค้าไปผลิตยังโรงงานอื่นที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ที่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน ดังนั้นพฤติกรรมของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ที่เลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานครั้งนี้ จึงเป็นพฤติกรรมของทุนที่เอารัดเอาเปรียบ ไม่สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณด้านแรงงานของกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ อินเตอรเนชั่นแนล
    สหภาพไทรอัมพ์ควรจะตีแผ่รูปแบบการส่งออเดอร์การผลิตไปยังโรงงานอื่นๆ ร่วมกับคนงานเวิลด์เวล ที่รับเหมาช่วงการผลิตให้กับกลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ มากว่าสองปี และกำลังเรียกร้องความเป็นธรรมอยู่ในขณะนี้

    2. สหภาพฯ ควรต่อรองกับนายจ้างและรัฐ ให้ไกลกว่าการต่อรองเรื่องค่าชดเชยตามกฎหมาย เพราะคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นคนงานหญิงอายุมาก ทำงานมานานกว่า 10 - 30 ปี และหลายคนมีอายุกว่า 40 - 50 ปี ซึ่งการเลิกจ้างครั้งนี้ นอกจากต้องการลดบทบาทสหภาพแรงงานแล้ว ยังเป็นการกำจัดคนงานอายุมากอีกด้วย ซึ่งคนงานเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลจากรัฐด้วยเช่นกัน เพราะอนาคตของพวกเธอ หลังจากถูกเลิกจ้าง (จากบทเรียนคนงานกลุ่มอื่นๆ ที่ถูกเลิกจ้างมาก่อนหน้านี้) คงไม่พ้นการเป็นคนงานรับเหมาช่วง จ้างงานตนเอง รับงานไปทำที่บ้าน หรือกลับไปยังถิ่นเกิด ซึ่งจะเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ นาๆ ดังนั้นรัฐและนายจ้างมองกรณีการเลิกจ้างเพียงแค่ว่า “ก็นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้วเพียงประการเดียวไม่ได้” เพราะนายจ้างไทรอัมพ์ ทิ้งภาระ 1,930 คน แต่ถ้ารวมสมาชิกในครอบครัวด้วยก็คงมีจำนวนมากกว่า 5,000 คน ให้รัฐบาลไทยต้องดูแล
    ในอดีต รัฐบาลไทยไม่เคยดูแลคนงานที่ถูกลอยแพ และไม่เคยนำมาเป็นภาระในการฟื้นฟู แต่กรณีของไทรอัมพ์ หนึ่งในคนงานที่ทำคุณูปการอย่างใหญ่หลวงให้กับประเทศชาติมาหลายสิบปี มันจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องยื่นมือเข้ามาทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานในการต่อสู้เพื่อให้กลุ่มธุรกิจไทรอัมพ์ ที่มั่งคั่งจากหยาดเหงื่อและแรงงานของคนงานไทย ต้องจ่ายค่าชดเชยชีวิตให้คนงานด้วย

    3. สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อาจจะศึกษาบทเรียนจากกรณีการต่อสู้ของคนงานจีน่าสัมพ้นธ์ หนึ่งในโรงงานตัดเย็บชุดชั้นในที่ปิดโรงงานเมื่อปี 2548 นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนนอกเหนือจากค่าชดเชยให้กับคนงาน ซึ่งสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ จำเป็นต้องยกระดับการต่อรองให้มากไปกว่าของคนงานจีน่าสัมพันธ์ และควรจะต่อรองค่าชดเชยเป็นระบบ ค่าชดเชยตามกฎหมาย + จำนวนปีที่คนงานทำงานที่ไทรอัมพ์ (ค่าชดเชยนี้เป็นหลักการจ่ายค่าชดเชยตามอารยะประเทศทั้งหลาย) + มาตรการฟื้นฟูชีวิตและอาชีพที่รัฐบาลไทยต้องเข้ามาดูแล

    4. สหภาพแรงงานไทรอัมพ์จำเป็นต้องเรียกร้องให้ บีโอไอ อนุมัติวงเงินเพื่อการฟื้นฟูชีวิตคนงานและเพื่อสร้างการผลิตของคนงานเอง เพื่อตั้งโรงงานของผลิต หรือจัดกลุ่มการผลิตอะไรก็ตามที่สหภาพจะได้นำเสนอต่อไป ในวงเงินสูงสุดไม่สองเท่าจากที่บีโอไออนุมัติให้กับบริษัทไทรอัมพ์ ทั้งนี้เพราะตัวเลขคนงานที่ต้องได้รับความช่วยเหลือที่ต้องได้รับการสร้างงานหลังจากถูกเลิกจ้างจากบริษัทไทรอัมพ์ที่สมุทรปราการ มีจำนวนมากกว่าตัวเลขคนงานที่นครสวรรค์ถึงสองเท่า
    ประเทศไทยส่งเสริมการลงทุนและให้สิทธิประโยชน์กับนายทุนต่างชาติอย่างมหาศาล ก็ด้วยหวังว่า บริษัทเหล่านี้จะก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งจะนำมาซึ่งสภาพชีวิตที่ดีขึ้น และก็หวังว่าคนงานไทยจะสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตจากบริษัทต่างชาติเพื่อมาทำการผลิตเอง คนงานไทรอัมพ์ทำการผลิตในโรงงานมากว่า 30 ปี จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมที่บีโอไอ จะทำตามนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศเสียที และถอนเงินหนุนช่วยกลุ่มบรรษัทไทรอัมพ์ แล้วนำมาสนับสนุนและหนุนช่วยให้คนงานไทรอัมพ์ให้สามารถตั้งโรงงานของตัวเอง สร้างธุรกิจหรืออาชีพของตัวเอง เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนงานที่จะถูกบรรษัทของต่างชาติและนายทุนไทยลอยแพอีกจำนวนมากในอนาคต

    5. อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นอุตสาหกรรมลื่นไหลไปตามค่าแรงขั้นต่ำ ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งปัจจุบันนั้นต่ำกว่ามาตรฐานที่คนงานไทยจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มันถึงคราวที่ประเทศไทยจะต้องคิดหามาตรการที่ก้าวหน้า ในการสร้างมาตรการฟื้นฟูและรองรับคนงานหญิงที่ถูกตกงานจากอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า การดันทุรังอุ้มกลุ่มธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (อาทิ อุดหนุนให้ไทรอัมพ์ย้ายฐานไปนครสวรรค์ ที่มีฐานค่าแรงเพียง 155 บาทต่อวัน โดยการเลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการที่สามารถรวมตัวและต่อรองกับบริษัทจนมีฐานค่าแรง 330 บาทต่อวัน) แต่เป็นเพียงการดำรงไว้ซึ่งความมั่งคั่งให้กับนายทุนเท่านั้น แต่ไม่สามารถสร้างชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนงานไทยได้อีกต่อไป ยิ่งกว่านั้นการอ้างของทุนว่าเพื่อการจ้างงาน ในกรณีของไทรอัมพ์ก็เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ว่า เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการจ้างงานที่นครสวรรค์เพียงพันกว่าคน ต้องแลกกับการเลิกจ้างคนงานหญิงอายุมาก และมีความชำนาญการผลิตที่โรงงานที่สมุทรปราการถึงร่วม 2,000 คน
    ทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย ควรจะหันกลับมามองจากล่างขึ้นบน และให้การอุดหนุนการสร้างอาชีพ และการผลิตกับตัวคนงาน ไม่ใช่กับนายทุนเพียงฝ่ายเดียว

    6. ดังนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์และขบวนการแรงงานไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหพันธ์สิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ควรใช้เวลานี้ ไตร่ตรองและปรึกษาหารือกันให้รอบด้าน ว่าจะทำการรณรงค์ปัญหา และยื่นข้อเรียกร้องเรื่องอะไรบ้าง ทั้งต่อนายจ้าง ต่อหน่วยงานของรัฐ(ทั้งกระทรวงแรงงาน บีโอไอ และนายกรัฐมนตรี) ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันสำหรับคนงานไทยในอนาคต ไม่ใช่เฉพาะแค่คนงานไทรอัมพ์เท่านั้น แต่เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้กับแนวนโยบายของรัฐในกรณีการเลิกจ้างคนงานหญิง คนงานอายุมาก เป็นจำนวนมากเช่นนี้ ซึ่งก็คงจะมีมาอย่างต่อเนื่อง

    ในส่วนโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและองค์กรพัธมิตรในระดับเอเชีย และสากล จะพยายาม หนุนช่วยการต่อสู้ของสมาชิกและสหภาพแรงงานไทรอัมพ์และครอบครัวอย่างเข็มแข็ง เพราะพวกเราเองที่ได้ติดตามพฤติกรรมขอบกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่ผลิตสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลายมาร่วมยี่สิบปี ก็เอือมระอากับพฤติกรรมการสร้างความมั่งคั่งโดยไม่ใยดีกับคนงานหญิง ไม่ใช่เฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่ในทุกประเทศที่ทุนเหล่านี้เข้าไป(หลายประเทศเพื่อนบ้านของไทย) นับตั้งแต่ปี 2539 พวกเราและขบวนการแรงงานในประเทศไทย และพันธมิตรจากสากล ได้ร่วมต่อสู้และหนุนช่วยคนงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งกรณีการต่อสู้ของคนงานอีเดน พาร์ การ์เมนต์ มาสเตอร์ทอย ไทยเกรียงสิ่งทอ แอโร่ การ์เม้น จินตนา เบดแอนด์บาธ เหรียญไทย ไก่สดเซนทาโก้ มิกาซ่า จีน่าสัมพันธ์ ไทรอัมพ์ เป็นต้น ซึ่งเกือบทุกโรงงานมีสหภาพแรงงานหรือปิดโรงงานหนีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน หลายโรงงานพากันอ้างวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เลิกจ้างคนงานหญิง คนงานอายุมาก และล้มสหภาพแรงงาน โดยตัวนายทุนเหล่านี้ก็ยังโลดแล่นอยู่ในแวดวงธุรกิจ และค่าชดเชยที่คนงานได้รับส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับเต็มตามกฎหมาย แต่กระนั้นก็ตาม รัฐไทยก็ไม่เคยนำนายจ้างขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม และก็ไม่เคยมีนายจ้างคนใดต้องรับผิดชอบกับอาชญากรรมชีวิตที่พวกเขาได้ก่อขึ้นเลย

    บัดนี้มาถึงการต่อสู้ของการล้มสหภาพแรงงานหญิงที่เข็มแข็งที่สุด ที่ยืนหยัดมาได้ถึง 30 ปี สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ขบวนการแรงงานไทย และสังคมไทย จำเป็นต้องยืนหยัดต่อสู้ในสิทธิความเป็นคน สิทธิแรงงาน และสิทธิการที่จะต้องได้รับการดูแลจากรัฐบาล และทำให้รัฐบาลไทยเข้าใจเสียทีว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐมองปัญหาแรงงาน เพียงแค่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติโดยเร็ว และปล่อยให้นายจ้างกับลูกจ้างจัดการกันเอง ไม่ได้อีกต่อไป รัฐต้องร่วมมือกับสหภาพแรงงานในการต่อรองกับกลุ่มทุน ที่กอบโกยผลประโยชน์จากค่าแรงราคาถูกจากประเทศไทยจนมั่งคั่ง และประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่เรื่องการจ่ายค่าชดเชย และการดำเนินมาตรการการหนุนช่วยคนงานที่ถูกเลิกจ้าง
    การต่อสู้ครั้งนี้ จึงเป็นภาระที่ขบวนการแรงงานไทย สังคมไทย จะต้องทำร่วมกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ คนงานเวิลด์เวล และคนงานที่ถูกลอยแพทุกคน

    ด้วยความสมานฉันท์

    จรรยา ยิ้มประเสริฐ
    ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย



    Thai - จดหมายถึงโครงการรณรงค์เสื้อผ้าสะอาด เดนมาร์ก


    English - Please Scroll Down


    คุณโทมัส ปีเตอร์เซน
    โครงการรณรงค์เสื้อผ้าสะอาด เดนมาร์ก
    c/o Mellemfolkeligt Samvirke
    Fælledvej 12
    DK-2200 KBH. N
    Bad Zurzach

    29 มิถุนายน 2552

    เรียน คุณปีเตอร์เซน

    ขอบคุณสำหรับจดหมายฉบับวันที่ 25 มิถุนายน ผมรู้สึกขอบคุณที่มีโอกาสพูดคุยกันอย่างเปิดเผยและโปร่งใสระหว่างบริษัทไทรอัมพ์กับ CCC

    ผมกำลังจะแจ้งคุณว่า เพื่อให้สอดรับกับแผนการปรับโครงสร้างบริษัทระดับโลก บ.ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกำลังจะปรับโครงสร้างการบริหารงานในประเทศไทย รวมทั้งประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนหนึ่งของแผนงานไทรอัมพ์จะยกเลิกการผลิตและการจำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์และจะลดการผลิตในประเทศไทยด้วย จำนวนคนงานทั้งหมด 3,714 คนจะได้รับผลกระทบจากแผนปรับโครงสร้างนี้

    บ.ไทรอัมพ์ที่ฟิลิปปินส์และบ.สตาร์เพอฟอร์มานซ์ 2 โรงงานในเมืองทากิกจะปิดทำการทั้งหมด ซึ่งจะกระทบลูกจ้าง 1,628 คนของทั้งสองโรงงานและอีก 58 คนของสำนักงานใหญ่ด้วย รวมทั้งศูนย์การจัดจำหน่ายในเมืองมากาตีจะถูกยกเลิกและเป็นผลในวันที่ 28 สิงหาคมนี้

    อย่างไรก็ตาม บ.ไทรอัมพ์จะยังดำเนินการตลาดและขายสินค้าของบริษัทในฟิลิปปินส์ และจะจ้างคนทำงานส่วนนี้จำนวนมากกว่า 100 คน ส่วนการผลิตในประเทศไทย บ.บอดีแฟชั่นจะลดการตัดเย็บประมาณ 37% ดังนั้น คนงาน 1,930 คนที่บางพลีจะถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากผลของการปรับโครงสร้างและมีผลตอนสิ้นเดือนสิงหาคม โรงงานที่บางพลีจะยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปด้วยกำลังแรงงานจำนวน 2,300 คน แผนกขายและการตลาดในประเทศไทยและโรงงานสาขานครสวรรค์ ซึ่งมีการจ้างงานประมาณ 2,000 คน จะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศนี้และจะดำเนินการผลิตเช่นเดิม

    ในจดหมายของท่านมีประเด็นสำคัญบางประเด็น คือ 1) เป็นที่ประจักษ์แก่เราว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพูดคุย เจรจากับสหภาพแรงงานอย่างเปิดเผย สหภาพทั้งสองประเทศ รวมถึงที่ประเทศไทย (TITLU) ได้รับการเชื้อเชิญจากเราในวันที่ 26 มิถุนายน เพื่อถกเถียงถึงปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าว นับตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วจนถึงวันนี้ ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา สหภาพแรงงานได้รับข้อมูลชัดเจนถึงความเคลื่อนไหวของบริษัทแล้ว รวมถึงแผนปรับโครงสร้างการบริหารงานด้วย การถกเถียงเจรจามีตัวแทนผู้นำของสหภาพที่ได้รับผลกระทบและเจ้าหน้าที่รัฐของกรมแรงงานและการจ้างงานของฟิลิปปินส์และกระทรวงแรงงานของไทย

    2) การเลิกจ้างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้ที่จะหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับของคนงานทั้งหลาย การถกเถียงยังคงไม่สิ้นสุดและเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย การช่วยเหลือลูกจ้างหางานใหม่ ทางบริษัทได้ยื่นจดหมายให้ลูกจ้างเป็นรายบุคคลแล้ว ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ การจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่ถูกปลดออก จะจ่ายเกินจำนวนที่ระบุไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของแต่ละแห่งอย่างแน่นอน

    ผมต้องการย้ำคุณและสมาชิกของ CCC ว่า
    1) การสูญเสียงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในสภาพทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากเช่นนี้ บ.ไทรอัมพ์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งการลดการบริโภค การสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า และต้องมีมาตรการที่จะรักษาธุรกิจของเราไว้ในสภาพที่ตลาดฝืดเคืองเช่นนี้ เราจำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ

    2) ในแต่ละกรณี ไทรอัมพ์ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย คำนึงถึงลูกจ้างของเราและสหภาพของลูกจ้างด้วย การดำเนินการในสองประเทศทำด้วยจิตวิญญาณและทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศ

    สุดท้าย บ.ไทรอัมพ์รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ทำให้ลูกจ้างสูญเสียงาน แต่เรากำลังทำทุกวิถีทางที่จะประกันว่า ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และด้วยความเคารพต่อการอุทิศทำงานให้แก่บริษัท ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า การจัดการเรื่องค่าชดเชยในแต่ละรายจะให้เกินที่กฎหมายกำหนด และเราก็กำลังหารือกับสหภาพแรงงานและรัฐบาลแต่ละประเทศถึงเรื่องการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คนงานที่ถูกเลิกจ้าง


    Ursula von Gunten
    Manager Corporate Social Responsibility



    ENGLISH


    Triumph Intertrade AG
    Triumphweg 6, 5330 Bad Zurzach, Switzerland
    Mr. Thomas Petersen
    Clean Clothes Campaign Denmark
    c/o Mellemfolkeligt Samvirke
    Fælledvej 12
    DK-2200 KBH. N

    Bad Zurzach, 29 June, 2009


    Dear Mr. Petersen,


    Thank you very much for your letter of 25 June. I certainly appreciate the opportunity to
    bring you up to date in the spirit of the open and transparent dialogue between Triumph
    and the Clean Clothes Campaign.

    I am writing you to inform you that – in line with its global restructuring program -
    Triumph International is indeed reorganizing its operations in Thailand but also in the
    Philippines. As a part of this program, Triumph will cease manufacturing and distribution
    center operations in the Philippines and will reduce manufacturing operations in Thailand.




    Overall: 3,714 people will be affected: The Triumph International (Philippines) Inc. and
    Star Performance Inc. factories in Taguig City, Philippines will close. 1,628 employees at
    the two factories and 58 employees at the company’s head office and distribution center
    in Makati City will be made redundant as a result of this change effective 28th of August.
    Triumph will continue to market and sell its products in the Philippines and will continue
    to employ over 100 people in these operations. Triumph’s manufacturing unit in Thailand,
    Body Fashion (Thailand) Limited, will reduce sewing capacity by approximately 37%.
    1,930 employees at the Bangplee factory will lose their jobs as a result of this change,
    also effective at the end of August. The Bangplee factory will continue to operate with
    reduced capacity with approximately 2,300 employees. Sales and marketing operations
    in Thailand and the company’s plant in Nakhon Sawan province, which employ over
    2,000 people, are not affected by this announcement and will continue to operate fully
    and normally.




    Your letter raises some important points. First, it is self-evident to us given our business
    principles that open discussion with the unions is essential. The unions in both countries,
    including TITLU, were invited on 26 June to discuss the situation and discussions have
    been underway throughout this past weekend and continue at this time. In these
    sessions, the unions have received clear information on the company’s situation and
    plans. Discussions include the leadership of all of the affected unions and officials of the
    Philippines Department of Labor and Employment and the Thai Ministry of Labour.




    Second, as these layoffs cannot be avoided, we will certainly do everything possible to
    find acceptable solutions for the workers. The discussions now underway with the
    unions therefore obviously focus on severance payment but also on assistance to
    employees in finding new employment. Individual written notice is of course being given
    to all of the affected employees. In both countries, severance payment arrangements for
    employees who will be leaving the company will certainly exceed the requirements of
    local employment law.




    I would also like to emphasize several import points to you and Clean Clothes
    Campaign’s members. First, these job losses are indeed unavoidable. In common with
    other businesses in this difficult economic climate, Triumph is affected by the global
    recession and the general downturn in consumer demand and must take steps to keep
    its business healthy in such extreme market conditions. These actions are a result of
    this necessity. Second, in each instance Triumph is acting with our legal obligations to
    our employees and their unions firmly in mind. The actions in both countries are being
    handled entirely within the spirit and letter of each country’s employment law.




    Finally, Triumph deeply regrets that any job losses are necessary, but is making every
    possible effort to ensure that all affected employees are being treated fairly and with
    respect for their contributions to the company. As I mentioned before, severance
    arrangements in each case, now under discussion with the unions, will exceed legal
    requirements and we are also working with the unions and government labour
    authorities in each country to develop programs to provide further assistance to workers
    who are being made redundant.




    I would appreciate continuing in our dialogue.





    Best regards,



    Ursula von Gunten
    Manager Corporate Social Responsibility

    Reported by Jitra Kotchadej,



    Translated by Numnual and Lek


    ภาษาไทย กรุณาอ่านข้างล่าง




    The Triumph Labour Union have been verbally informed by Mr. Prayoon Vonglek, the Human Resource Manager on June 22, 2009 that the Triumph International has several plans to lay off the workers( the union’s have recorded the telephone conversations as witness). Stating that the official notice will be informed to every workers directly by Mr. Leonardo Innocenzi.



    The company’s plans is;



    The company has scheduled a meeting with all workers on June 27, with both Triumph Labour Union, the workers union and the management union, and participated by the provincial labour officers to informed everyone about the plan.

    June 29, the company will transport all workers to the Bangkok International trade Exhibition Centre (BITEC), the breakfast together is arranged for all workers to have last meal with the management team. Mr. Leonardo Innocenzi, Mr. Kenneth Louise Marshall will inform the company’s situation, by claiming that the Body Fashion (Thailand) Limited had been accumulated deficit since 2003, and until now the company don’t have any order, and in ability to pay wages, bonus, and all other benefits to all workers. Also claiming the cost of productions is getting higher due to the increasing prise of raw materials, etc.

    In order for the company to survive, they have to downsizing it’s organization and would have to laid off 5 0% of their workers; from the Triumph’s head office, the warehouse in Thepalak and the Packing Department in Klongkud will be relocated to the main plants in Bangplee.

    On 29 June, the company will give every worker a white envelop. In the envelope, there is a letter to informed workers about their status, some will be notify that they are dismissed, and for the other, it informs them to return to work on 1st September.

    For those who are dismissed, the company will pay two month salary (July-August) and will pay the compensation money in September. For those who are continued to be employed, they will receive 75% of their salary in these two months (the company makes use of labour protection law that in case of temporary closedown due to the lost in business, the company may pay only 75% of salary to workers during the closed down period) until the company reopened in September.

    From the conversation with Mr. Prayoon, he said the the union’s member that if there is any obstacle to the plan, Mr. Spisopher, the owner of Triumph, will shut down the company in Thailand without paying anyone compensation.

    Situation inside the factory.



    Immediately, on June 22, 2009 the union has demanded more explanation from the management. Mr. Kennet Louise Marshall has been trying to avoid the meeting with the union and finally set the meeting date on June 24,2009 in the afternoon. However, this dated has been postponing to June 27.



    Ms. Wanphen Wongsombat, the president of Triumph union, has submit a notify letter to the MoL officers on the situation.

    Starting from June 23,Triumph’s workers start to gathering together and discuss about this news, some are crying, however, the workers are demanding to work overtime to meet the export schedule.

    The union has conducted meeting with all their range and file leaders so that they can inform all their line’s of productions members about this news of the laid off.

    At the moment the union hasn’t received any official letter from the management regarding this news.


    Reported by Jittra Chochadet, the Triumph’s union officer




    June 20, 2009


    Subject: Rumours of Massive layoff



    Dear Mr. Kenneth Louis Marshall,


    We, Triumph International (Thailand) Labour Union, have heard rumours from our members at different levels, including officers, foremen, and some management, that workers are going to be dismissed. We have repeatedly heard this rumour and also about Triumph factory closures in other countries. The rumour is making workers worried and unenthusiastic about working because it leads to job insecurity.

    Therefore we demand that management report on the current situation of the company, whether the rumours are true or not and explain why. The reasons given must be acceptable. It is not acceptable to claim that the economic crisis requires the layoff of old workers, members of the labour union, and workers with occupational-related sickness. We hope that the layoffs will not happen, as the company has a good code of conduct.

    In order to lay off workers fairly and not to use the economic crisis as an excuse to destroy Triumph International (Thailand) Labour Union or change regular employment into contract or sub-contract employment, we should reach an understanding between both the management and workers to prevent problems in the future. We therefore present to management the following demands in the event of layoffs or factory closure:

    1.Declare the date of the layoffs, the reasons, and a list of workers who will be laid off, at least 60 days in advance of the layoff.
    2.Make an agreement between the company and the labour union to ensure that the layoffs are fair.
    3.Accept applications from workers who voluntarily accept layoff
    4.Pay extra compensation in line with Article 118 of the 1998 Labour Protection Act to workers who have worked continuously for more than a year at the rate of their last wages, by paying thirty days per year of work.


    Sincerely yours,

    Miss Wanpen Wongsombat
    Union President
    Triumph International (Thailand) Labour Union

    1. Labour Federation of Garment and Leathers Industries
    2. International Textile, Garment and Leather Workers’ Federation (ITGLWF)
    3. Head, Prvincial Labour Protection Section, Samut Prakan
    4. Director-General, Labour Protection Department
    5. Mr.Markus Spiesshofer
    6. Mr.Leonardo Innocenzi
    7. Ms.Ursula non Gunten
    8. Ms.Veronika Stossun
    9. Clean Clothes Campaign (CCC)

    Triumph Company Plan to Lay off Workers.


    Sat, 27/06/2009 - 20:39
    After many members of Triumph International (Thailand) Labour Union had heard rumours that workers may be dismissed, and also that Triumph International factories in other countries have been temporarily shut down, the Human Resources Manager of Body Fashion (Thailand) Ltd., Mr. Prayoon Wonglek, has just notified workers today that Saturday and Sunday, 26 and 27 June, are special holidays, so they don’t have to come to work because of the reduced quantity of work. Workers will still get their wages as usual. Workers are to return to work on 29 June.

    The company would also like to negotiate with Triumph International (Thailand) Labour Union at a meeting on Saturday at 3 pm at Samut Prakan Provincial Labour Office. The union therefore called members to a rally in front of the company at Bang Phli Industrial Estate, Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province on Saturday morning.



    Announcement on the 24th June from the Management of Body Fashion (Thailand) about the Impact of Global Economic Crisis toward the Company



    Previously, the management announced to all workers in March, 2009 that the company’s selling grand total (ยอดขาย) of 2009 does not increase at all because of the global economic crisis. Besides, its suppliers, shopping malls as its customers reduced lots of purchase orders that caused the company’s selling grand total reduce.

    The management claimed that the selling grand total of 2009 reduced and its tendency is still reducing when comparing with the whole selling grand total in the country. (ยอดขายทั้งหมดในประเทศ) Although the management has tried to issue short-term measure that it would keep using the same amount of cost as the year 2008, the management now has to cut much more cost to protect the company’s future.

    The fit for future plan that the management has planed for the long-term improvement states that the company must improve the cost structure of all units of the company in order to build efficiency and be able to keep running the business.

    Improvement of the cost structure
    1. marketing, products line (สายผลิตภัณฑ) that did not create profits and could not be improved to make profit anymore
    2. whole sale and retail customers (ตัดลูกค้าขายส่งกับขายปลีก)
    3. cost of production and distribution (การจำหน่าย)

    The management said that due to the global economic crisis, it is fortunate that its financial status is still stable, but it must improve weak points of the company in order to survive, build efficiency and potential to keep running the business and compete with other companies. And it thanks to workers who will save the company.


    29 June 2009


    Subject: Triumph International and OECD Guidelines for MNEs


    Dear Mr Marcus Spiesshofer, President and Managing Director of Triumph International




    Cc: Textile and Garment Workers’ Federation of Thailand
    Thailand’s Labour Minister
    International Textile, Garment, and Leather Workers’ Federation
    Triumph Works Council
    Clean Clothes Campaign
    Project Manager CSR Ms Ursula Von Gunten
    Corporate Head of Supply Chain Mr Leonardo Lnnocenzi

    We write to you in regard to the recent news announced by the management of Body Fashion (Thailand) on the plan to lay off 1,930 workers or half the workforce of the Bangphi plant, the majority of which are women workers and union members who took part in the recent strike to call for reinstatement of the dismissed union president.

    The management has claimed the poor performance and lost profit as the reason to lay off the workers.

    On the contrary, given the volume of orders and the overtime work over the years, the union finds it difficult to believe in the reason claimed by the management. Apart from that, the management has never informed the union on the problems of the company, nor has there been any policy on cost saving announced by the management.

    In order to resolve the differences and bridge communication gaps, the union calls for the following:

    1. Transparency and information disclosure - correct information is needed on the real performance of the company, business structure, company’s policy and plans in relation to production and employment
    2. In order to mitigate the effects on workers and their families, there is need for social dialogue involving the relevant parties i.e the management who has the right to final decision making, the trade union and the workers’ federation, ITGLWF, Thai government


    Given the urgency of the matter, we hope you will give this a priority, and we look forward to hearing from you.


    Wanpen Wongsombat
    President
    Triumph Labour Union in Thailand

    28 มิถุนายน 2552



    เรื่อง ขอให้บริษัทฯปฎิบัติตามแนวปฎิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines)
    เรียน คุณมาคูส สเปียโฮเฟอร์



    ด้วยสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ได้มีการประชุมหารือกับ ผู้แทนบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด เรื่องข่าวลือเรื่องการเลิกจ้าง บริษัทฯได้แจ้งให้ตัวแทนสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯทราบว่า บริษัทฯมีแผนการเลิกจ้างคนงานทั้งหมด 1,930 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลี และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นคนงานที่เข้าร่วมผละงานปกป้องสหภาพฯในกรณีเลิกจ้างอดีตประธานสหภาพแรงงานฯคุณจิตรา คชเดช ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่าขาดทุน ไม่มีออร์เดอร์ ในการเลิกจ้างดังกล่าวสหภาพแรงงานฯเชื่อว่าไม่ได้เกิดจากกการขาดทุนและ เพราะพนักงานมีงานล่วงเวลาทำ บริษัทไม่เคยชี้แจง บริษัทฯไม่เคยมีมาตรการในเรื่องของการประหยัด และ การขจัดการคอรัปชั่น สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จึงขอให้ท่านใช้ปฏิบัติต่อสหภาพแรงงานฯและคนงานบริษํทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ดังนี้
    1. ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจในการบริหารจัดการที่ดีให้กับสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด ในเรื่องที่บริษัทอ้างการขาดทุน และไม่มีออเดอร์
    2. บริษัทต้องเปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร เพราะการปรึกษาหารือเป็นการเคารพในสิทธิมนุษยชนของคนงาน เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้กันในสังคมประชาธิปไตยในเรื่องการเลิกจ้างคนงานหลายคน ให้คนงานได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อไม่ให้คนงานได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป
    3. บริษัทต้องยอมรับสหภาพแรงงานฯและไม่ทำการใดๆที่ทำให้สหภาพแรงงานฯไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้
    ฉะนั้นทางสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านดำเนินการ
    จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้

    ขอแสดงความนับถือ

    นางสาววันเพ็ญ วงษ์สมบัติ
    ประธานสหภาพแรงงาน

Blog Archives

Featured Video







24 July 2009 | At Central World Part 1



24 July 2009 | Gaysorn Plaza Part 2



24 July 2009 | Central Chidlom Part 3



24 July 2009 | British Embassy 4



24 July 2009 | Embassy of Switzerland 5



24 July 2009 | Embassy of Switzerland 6



24 July 2009 | Embassy of Switzerland 7



24 July 2009 | Embassy of Switzerland 8

Photos

TLUprachathai.com
From Triumph Protest Site
From Triumph Protest Site
From Triumph Protest Site
From Triumph Protest Site
From